app.gbd.title.en

หลักสูตร “การเป็นผู้ประกอบการและการออกแบบธุรกิจนวัตกรรมสีเขียว
Entrepreneurship & Green Business Design”

การที่ประเทศไทยวางเป้าหมายขับเคลื่อนประเทศไปสู่การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ (Net Zero) ให้ได้ในปี 2593 เป็นเสมือนกลไกผลักดันให้ทุกภาคส่วนเกิดความตื่นตัวและเห็นความสำคัญของการ นำนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือช่วยลดผลกระทบจากวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่การรักษ์โลกยุคนี้มีราคาที่ต้องจ่ายแถมเป็นราคาที่สูง โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ไม่ได้มีแค่ต้นทุนในการใช้ชีวิตแต่ต้องคำนึงถึงต้นทุนในการทำธุรกิจด้วย จึงต้องมีการวางแผนและพิจารณามากขึ้นไปอีก ให้คิดวันนี้และเปลี่ยนพรุ่งนี้ คงทำไม่ได้เร็วทุกคน เพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน “ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อสังคม” และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงมีแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ “เพื่อดึงความกรีนมาใกล้ธุรกิจให้มากขึ้น” ซึ่งเชื่อเลยว่าการเรียนรู้ด้าน Green Business & Innovation จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ในอนาคตอย่างแน่นอน
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบขึ้นตามแนวคิด Business Life Cycle Framework ที่จะนำเสนอเนื้อหาตามมิติในการทำธุรกิจที่ผู้ประกอบการจำเป็นที่ต้องใส่ใจเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ โดยประกอบไปด้วยมิติที่เป็นปัจจัยภายใน 4 ขั้นตอน Input, Process, Output และ Marketing และมิติสุดท้ายที่เป็นปัจจัยภายนอกได้แก่ Environmental Externalities ผู้ประกอบการทุกคนสามารถบูรณาการความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับธุรกิจของตนเองได้ในรูปแบบและขั้นตอนการทำธุรกิจที่แตกต่างกันไปตาม Business Life Cycle
app.gbd.title.en

เนื้อหาหลักสูตร

ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ พนิตตา โอกาศเจริญ
ก้าวแรกสู่ธุรกิจนวัตกรรมสีเขียว

การทำ Green Business มันไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอดโดยเล่าความเป็นมาของการทำธุรกิจในอดีตที่มีการทำลายโลกจึงส่งผลกระทบตามมาอย่างที่เราได้เห็นกันในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะโลกร้อน ขยะ ทรัพยากรลดลง จึงเป็นที่มาของแนวคิด SDGs ที่องค์กรสหประชาชาติได้ริเริ่ม ในบทเรียนนี้จะพาเรียนรู้ตั้งแต่ปรัชญาในการทำธุรกิจ รูปแบบการทำธุรกิจ จนถึงการเรียนรู้แนวคิด Green Business ตามรูปแบบ Business Life Cycle Framework ตั้งแต่ขั้น Input , Process, Output, Marketing และสุดท้ายที่ Environmental Externalities

ทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ มยุรี อรุณวรานนท์
กรอบแนวคิดธุรกิจนวัตกรรมสีเขียว

การจะทำธุรกิจ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Mindset ในบทเรียนนี้จะใช้ทฤษฎี Outward Thinking ในการอธิบาย โดยทฤษฎีนี้จะอยู่ตรงข้ามกับ Invert Thinking ซึ่งมันคือการคิดถึงผลประโยชน์ของตนเองและธุรกิจของตนเองเป็นหลัก แต่คนที่จะทำ Green Business ได้ดีจะต้องมีความเป็น Outward Thinking นั่นคือ“การคิดถึงส่วนรวมเป็นหลัก” โดยต้องเห็นภาพว่าการกระทำของเราในวันนี้ จะส่งผลต่อคนอื่น ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวและมีการส่งต่อไปยังรุ่นต่อรุ่นอย่างไรบ้าง ต้องเป็นคนคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าเป็นเรื่องส่วนตัว

ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ นิพนธ์ พิลา
การออกแบบธุรกิจนวัตกรรมสีเขียว ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

เมื่อเราคิดจะเริ่มออกแบบธุรกิจ ปัญหาสำคัญ ที่ทุกคนต้องเจอคือ “คิดไม่ออก” ว่าจะทำอะไร ทำแบบไหน หรือ ลูกค้าเป็นใคร Design Thinking จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเห็นภาพตั้งแต่เริ่มคิดว่าจะทำไปเพื่อใคร ปัญหาคืออะไร และเราจะสร้างสรรค์ไอเดียออกมาอย่างไรให้เป็นรูปธรรม โดยภาพรวม จะเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักวิธีที่จะสร้างวิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่วนรวมแล้วขยายผลให้เกิดเป็นธุรกิจต่อไป

ทศพล ศุภเมธีกูลวัฒน์ สรณัญช์ ชูฉัตร
การพัฒนาแผนธุรกิจนวัตกรรมสีเขียว

บทเรียนนี้จะเป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่อง Business Model Canvas เพื่อใช้ตอบคำถามว่า “การทำธุรกิจแบบ Green สามารถทำรายได้และกำไรได้จริงหรือไม่” โดยจะลองใช้ BMC มาประยุกต์เข้ากับกรณีศึกษา เพื่อให้เห็นภาพว่าแต่ละธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเขามีแนวทางการบริหาร BMC ของตัวเองอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำแนวคิดไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเองต่อไปได้อย่างไร

ผศ.ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร อินทิรา นาคสกุล
การตลาดสีเขียว

บทเรียนนี้จะพูดถึงการสร้างตลาด โดยมีใจความสำคัญคือการสร้างคุณค่า โดยเรียนรู้ผ่านหลักการอย่าง Marketing Mix ส่วนผสมทางการตลาด แต่จะปรับหัวข้อจาก Product, Price, Place และ Promotion เป็น Sustainable Package, Resource Conservation, Consumer Awareness and Preference, Cost Setting and Efficiency ซึ่งถ้ามองภาพรวมเราจะเห็นว่าในหัวข้อ Green Marketing การจัดสัดส่วนทางการตลาดจะแตกต่างจากการทำธุรกิจทั่วไป แต่จะเป็นการทำทุกอย่างให้มีความพอดีแล้วสื่อสารไปสู่ผู้บริโภค

ดร.กฤษกร สุขเวชชวรกิจ ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน

ในบทนี้จะเป็นการฉายภาพใหญ่ที่มีความเป็นมหภาคมากขึ้น โดยเป็นการพูดเชิงเศรษฐศาสตร์ ซึ่งจะไม่ใช่เรื่อง Micro หรือ Macro ที่เราคุ้นเคย แต่จะเป็นการพูดถึงว่า เราจะวัดค่าทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับ Green Business อย่างไร โดยจะเป็นการวัดสองแกนคือในมุมของต้นทุน Cost Impact และความสามารถในการพัฒนาสภาพแวดล้อม Environmental Improvement ซึ่งจะทำให้เราสามารถหาคำตอบให้กับธุรกิจของเราได้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีคุณค่าอย่างไร และปิดท้ายด้วยเรื่อง Circular Economy

ดร.กฤษกร สุขเวชชวรกิจ ธวัช ธีระนุสรณ์กิจ
เทคโนโลยีและธุรกิจนวัตกรรมสีเขียว ที่มีศักยภาพการแข่งขันสูง

เรียนรู้แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจที่เป็น Green Business ในอนาคต โดยเรียนรู้กรณีศึกษาจากธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่มาจากอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ และเป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้ที่สนใจจะเข้าสู่วงการ Green Business ว่าจะเริ่มยังไง จะทำอะไร หรือสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้กับธุรกิจที่มีอยู่แล้วอย่างไร

NIA MOOCs Tech Support