เจ้าแม่ภัยพิบัติ
ความเสี่ยง คือเรื่องที่จะต้องนำประสบการณ์ที่มี บวกกับความรู้ใหม่ ๆ วิธีคิดใหม่ ๆ กับการตั้งคำถามใหม่ ๆ ถึงจะสามารถจัดการกับสภาวะแบบนี้ได้
สัญญาณเตือนจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ครั้งนี้ เป็นบทเรียนสำคัญว่าวิกฤตครั้งต่อไปสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะแวดล้อมของโลกที่หมุนเร็วเกินต้าน จึงไม่อาจคาดเดาได้ว่าวิกฤตครั้งต่อไปจะรุนแรงและมีโฉมหน้าอย่างไร ก่อนที่ภัยรูปแบบใหม่จะมาโดยไม่ทันตั้งตัว
เห็นได้จาก สึนามิ ที่ทุกคนเข้าใจว่านาน ๆ เกิดขึ้นที แต่แล้วก็เกิดได้บ่อยครั้ง เช่น ที่อินโดนีเซียเกิดขึ้นปีเว้นปี ที่ญี่ปุ่นก็เพิ่งจะเกิดขึ้นไม่นานนี้ หรือที่ไอซ์แลนด์ ภูเขาไฟก็ระเบิดขึ้น ทำให้เครื่องบินไม่สามารถทำการบินได้อยู่หลายวัน นั่นหมายถึง เราควรจะตระหนัก เฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเข้าใจ
โรคระบาดก็เช่นกัน ครั้งที่ผ่านมากว่าจะรู้ว่าโควิด-19 มีระยะในการติดต่อ 14 วัน กว่าจะรู้ว่ามีเชื้ออยู่ในตัวและแพร่กระจายได้จนสถานการณ์บานปลายเพราะความไม่รู้ไปแล้ว

รัฐบาลมีปัญหาในเรื่องไม่ค่อยให้ความสำคัญในการระบุความเสี่ยงและวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างจริงจัง รัฐบาลยังหมกมุ่นในความมั่นคงแบบเก่า อาจจะยังคุ้นชินกับประสบการณ์ เพราะจะคอยคิดอยู่ตลอดเวลาว่า “โรคระบาดคราวหน้าคงจัดการได้” ดังนั้นครั้งหน้าหากมีโรคระบาดเช่นนี้อีกกันไว้มากกว่าปกติเลย ไม่ใช่ใช้แต่บทเรียนที่เคยรู้มาเพราะเราพ่ายแพ้ต่อความรู้ อันนี้เป็นเรื่องที่ต้องยอม
เรื่องที่สองที่ภาครัฐทำได้ไม่ค่อยดี คือเรื่อง Situation Analysis ในเมื่อสถานการณ์เกิดขึ้นแล้ว เราวิเคราะห์ในรูปแบบไหนเพื่อที่จะเตรียมออกมาตรการ แต่การที่จะออกแบบมาตรการ วิธีการให้สามารถตอบรับกับฉากทัศน์ต่าง ๆ ที่ทางการแพทย์คิดมาให้ได้นั้น แต่บังเอิญต้องอาศัยข้อมูลให้ได้จำนวนมากหรือที่เราเรียกกันคุ้นปากว่า Big Data ในประเทศไทย Data it’s very big แต่ไม่ใช่ Big Data เพราะมันอยู่ทั่วทุกที่และอยู่เยอะไปหมด ทั้งข้อมูลที่ไม่ตั้งใจเก็บอย่างกระจัดกระจาย ทั้งข้อมูลที่ตั้งใจเก็บโดยรัฐ ทั้งข้อมูลที่ตั้งใจเก็บโดยภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งสามส่วนนี้ไม่เคยวิ่งเข้าหากันเลย สองอันที่เคยขัดขวางในการเข้าหาช่วงวิกฤต
อย่างที่หนึ่งจัดเก็บข้อมูลในหน่วยงานพันธกิจหลักของหน่วยงานเท่านั้นไม่สามารถทำให้ข้อมูลนั้นมาใช้ได้ในเวลาที่ต้องตัดสินใจร่วมกัน ความเสี่ยงเป็นเรื่องผลกระทบ ยิ่งเป็นความเสี่ยงชุมชนชาติ ไม่ใช่ความเสี่ยงขององค์กรใดองค์กรหนึ่งมันจะมีความยาก

อย่างที่สองเก็บแบบไม่มี M&E Monitoring and Evaluation คนเก็บก็เก็บไป คนใช้ก็ใช้ไป ข้อมูลก็เลยไม่มีคุณภาพจากการเก็บ พอเกิดวิกฤตอาจจะใช้ไม่ได้ ใช้ร่วมกันก็ไม่ได้เพราะข้อมูลมันไม่มีคุณภาพ เพราะฉะนั้นเป็นปัญหาใหญ่ในการจัดการและการออกมาตรการ เพราะมันไม่ตอบสนองกับคนแต่ละกลุ่ม
เรื่องที่สามที่สะท้อนให้เห็นอย่างรุนแรงคือกระบวนการในการบริหารของภาครัฐและกฎระเบียบที่มีอยู่ พรบ. (พระราชบัญญัติ) เป็นหนึ่งตัวที่ให้เกิดปรากฏการณ์ที่ทำให้นักวิชาการชอบใช้เรียกว่า Siloism เป็นการจัดการและบริหารร่วมกัน เพราะในวิกฤตเป็นความประหลาดยิ่งเป็นความเสี่ยงในโรคภัยพิบัติในรูปแบบอื่นไม่ใช่โรคระบาดจะก่อให้เกิดผลกระทบชนิดในหลายด้านพร้อมกัน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาต้องร่วมมือกัน แต่ในการอ้างอิง พรบ.ที่อยู่ในภาวะปกติ มันสิ่งที่สร้างวัฒนธรรม ที่ทำให้ไม่สามารถไปกำกับการทำงานของหน่วยงานอื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น พรบ.โรคติดต่ออันตราย ทุกคนจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องของ กรมควบคุมโรค แต่จริง ๆ แล้วเป็น พรบ.ที่ใช้กับทุกคน จริง ๆ แล้วเรามีพรบ.หลากหลายที่สามารถใช้ได้ในภาวะวิกฤติอยู่แล้ว ผู้บริหารที่อยู่ในระดับการตัดสินใจ ต้องทำความเข้าใจใหม่ในเรื่องพรบ.ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพรบ.ทั้งหมดเป็นตัวที่ทำให้เราเตรียมความพร้อมก่อนในการเกิดเรื่อง แต่ไม่เคยศึกษาพรบ.ในภาวะที่ปกติ
สุดท้ายแล้ว ปัญหาอีกประเด็นหนึ่งคือ รัฐไม่สามารถคิดวิธีใหม่ภายใต้ New Normal ได้ ปัญหาปัจจุบันในประเทศไทยมักจะอยู่ที่ในกระบวนการของภาครัฐ ที่อาจจะมีขั้นตอนที่เยอะ เพราะฉะนั้น การคิดจึงเป็นเรื่องของ DeepTech การใช้ Aplication การใช้ Technology มาตอบโจทย์ความสะดวกสบายและตอบประสิทธิภาพ

โควิดที่ผ่านมาแก้ปัญหาการจราจรได้อย่างสบายมากด้วย Work From Home ดังนั้นก็แสดงให้เห็นว่าจริงแล้วมีหน่วยงานสำหรับส่วน Back Office ที่สามารถทำงานที่บ้านได้ ดังนั้นก็ควรสร้างระบบการจัดการ และการวัดผล สร้างตัวชี้วัด ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าการตอกบัตรเข้าทำงาน นั่นหมายถึงการเข้าถึงกระบวนการนวัตกรรม หากพูดในศัพท์เชิงนวัตกรรม มีความเห็นว่า รัฐไม่มีความเข้าใจในทุกกลุ่มของสังคม ดังนั้นหากถามว่าสิ่งที่รัฐต้องการมากที่สุดในตอนนี้คืออะไร นั่นก็คือนวัตกรรมที่เป็นนวัตกรรมทางสังคมโดยเฉพาะองค์ประกอบเชิงสถาบัน หรือที่เรียกว่า Institutional Innovation จัดการกับระเบียบวิธีปฏิบัติขึ้นใหม่จัดการวิถีการทำงาน บริหารรูปแบบการทำงาน สมรรถนะ และศักยภาพของ ผู้บริหารทุกระดับ