โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประจำปี 2565 (CITY & COMMUNITY INNOVATION CHALLENGE 2022)

โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน ประจำปี 2565 (CITY & COMMUNITY INNOVATION CHALLENGE 2022)

ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม NIA กำลังเฟ้นหาไอเดียนวัตกรรมดีๆ ที่สามารถผลักดันไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมในมิติต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นจริง ภายใต้โครงการ “นวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชนปี 2565” (City & Community Innovation Challenge 2022)

เปิดรับสมัคร 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2564

เสนอขอรับทุนได้สูงสุดถึง 1.5 ล้านบาท/โครงการ

นวัตกรรมศิลปะ วัฒนธรรม และมานุษยวิทยา โดยมีหัวข้อที่เปิดรับ ได้แก่

  • ความหลากหลายทางชาติพันธุ์
  • การยกระดับภูมิปัญญาพื้นถิ่น
  • ทัศนศิลป์
  • ศิลปะการแสดง
  • ศาสนา

นวัตกรรมบริการด้านสุขภาพและสวัสดิการเพื่อสังคม โดยมีหัวข้อที่เปิดรับ ได้แก่

  • การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ด้อยโอกาส
  • นวัตกรรมสำหรับการส่งเสริมสุขภาพ
  • หุ่นยนต์ทางการแพทย์สำหรับกลุ่มเปราะบาง
  • นวัตกรรมข้อมูลด้านสุขภาพ
  • แพลตฟอร์มสวัสดิการและประกันทางด้านสุขภาพ

นวัตกรรมเพื่อชีวิตที่มีความสุข โดยหัวข้อที่เปิดรับ ได้แก่

  • โอกาสในการทำงานที่มีคุณภาพ
  • การใช้ชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • การกระตุ้นพลังชีวิตด้วยกีฬาและการออกกำลังกาย
  • มิตรภาพของสัตว์เลี้ยง
  • ความสุขของการอยู่อย่างสันโดษ

คุณสมบัติของผู้เสนอโครงการ

  1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการทำงานร่วมกับภาคเอกชนหรือภาคมหาวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนพันธกิจขององค์กรปกครองนั้นด้วยนวัตกรรม
  2. องค์กรเอกชน หรือ มหาวิทยาลัย ที่มีส่วนร่วมกับเมืองหรือชุมชน มีการทำงานร่วมกับคนในพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ หรือประโยชน์ให้กับพลเมือง โดยใช้นวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน
  3. มูลนิธิ สมาคม วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์ ที่ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมในระดับพื้นที่ และส่งผลกระทบอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

รูปแบบการสนับสนุน

เป็นการเปิดรับข้อเสนอโครงการนวัตกรรม ที่สามารถแก้ปัญหาสำหรับเมืองและชุมชนในหัวข้อที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นผู้กำหนด โดยผู้ผ่านเกณฑ์การสนับสนุนจะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อดำเนินโครงการมูลค่าไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อโครงการซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การสนับสนุนโครงการที่สำนักงานฯ กำหนด ดังนี้

  • การจ่ายเงินเพื่อให้การสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการ จะเป็นลักษณะการเบิกค่าใช้จ่ายย้อนหลัง (reimbursement) ซึ่งผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องออกค่าใช้จ่ายในโครงการแต่ละงวดไปก่อนตามแผนงาน แล้ว สนช. จะทำการเบิกจ่ายให้เป็นรายงวด
  • กรณีผู้ขอรับทุนเป็นภาคเอกชน จะต้องแสดงค่าใช้จ่าย (In-Cash) ส่วนของผู้ขอรับทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าโครงการ
  • ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนในนามของนักวิจัยโดยตรงได้ โดยผู้ยื่นขอรับการสนับสนุนต้องเป็นหน่วยงานที่นักวิจัยสังกัดอยู่เท่านั้น

1 Aug 2021

7 PM - 6 AM

REGISTER
NIA MOOCs Tech Support