Open Innovation
นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) นวัตกรรมแบบเปิดหนึ่งในกลไกการให้เงินทุนสนับสนุนสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 "การสร้างคุณค่าและมูลค่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน" เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่มูลค่าอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยยกระดับห่วงโซ่อุปทานเดิมที่มีศักยภาพ (First S curve) และชักนำไปสู่การสร้างห่วงโซ่มูลค่าใหม่ที่เป็นอุตสาหกรรมอนาคต (New S curve) ของประเทศอย่างมีนัยสำคัญทั้งกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม (Smart SMES) และวิสาหกิจเริ่มต้น (Statup) ซึ่งเป็นไปตามกลุ่มสาขาเศรษฐกิจ ดังนี้ 1.สาขาเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) 2.สาขาเศรษฐกิจการผลิตและการหมุนเวียน (Manufacturing and circular economy) 3.สาขาเศรษฐกิจบริการและแบ่งปัน (Service and sharing economy)
ขอทุนต้องทำอย่างไร
1. เข้าร่วมหลักสูตร Innovation 101 ทางออนไลน์ หรือออฟไลน์
2. Startup + SMEs ส่งข้อมูลเสนอโครงการเบื้องต้น https:\\mis.nia.or.th
3. Startup +SMEs นำเสนอข้อเสนอโครงการเบื้องต้นต่อคณะทำงานกลั่นกรองข้อเสนอโครงการเบื้องต้น
4. เข้าอบรมหลักสูตร Innovation 102 เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการ ฉบับสมบูรณ์ร่วมกับ SMEs และ Startup
5. ส่งข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ในระบบ https://mis.nia.or.th/
6. SMEs + Startup นำเสนอข้อมูลโครงการฉบับสมบูรณ์ต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาและกลั่นกรอกโครงการนวัตกรรมแบบเปิด
7. ทำสัญญาและดำเนินการเบิกจ่าย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. Smart SMEs วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ และกิจการค้าส่งและค้าปลีก โดยกำหนดจากมูลค่าของสินทรัพย์ถาวร (อ้างอิง: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.))
2. Startup ธุรกิจเกิดใหม่ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ ซึ่งมีนวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจ (Business model innovation) ที่สามารถทำซ้ำ (Repeatable) และขยายตลาด (Scalable) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเติมโตอย่างก้าวกระโดด (Exponential growth)
เงื่อนไขการเบิกจ่าย
- ผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับการอนุมัติโครงการ จะต้องเข้ามาทำสัญญารับทุนอุดหนุนโครงการ ตามรูปแบบที่ สนช. กำหนด
- การจ่ายเงินเพื่อให้การสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเป็นลักษณะการเบิก ค่าใช้จ่ายจ่ายย้อนหลัง (reimbursement)
- ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนจะต้อง ออกค่าใช้จ่ายในโครงการแต่ละงวดไปก่อน ตามแผนงาน แล้ว สนช. จะจ่าย ให้เป็นรายงวด (อ้างอิงตามระเบียบคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนา และ สนับสนุนโครงการนวัตกรรม พ.ศ. 2553 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2557) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 งวด
- ค่าตอบแทนผู้ให้บริการนวัตกรรม (ISP) ใช้ได้สำหรับ ISP ที่ขึ้นทะเบียนกับ สนช. เท่านั้น
- อำนาจในการพิจารณาเบิกจ่ายเงินแต่ละงวด เป็นสิทธิของ สนช. แต่เพียงฝ่ายเดียวและให้ถือเป็นที่สิ้นสุด
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม และดูกำหนดการของโครงการได้ที่
โทรศัพท์: 02 017 5555, 02 017 5566
อีเมล์: [email protected]
https://open.nia.or.th/
ดำเนินการโดย
- ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ
- สุทธิรักษ์ ดวงบุรงค์ (ไนท์)