Green Business Design Through Design Thinking
ธนาคารออมสินร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นำเสนอหลักสูตร "Entrepreneurship & Green Business Design การเป็นผู้ประกอบการและการออกแบบธุรกิจนวัตกรรมสีเขียว"
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบโดยใช้แนวคิด "Business Life Cycle Framework"
บทเรียนนี้จะอยู่ในหัวข้อ "Process ด้านกระบวนการ"

สิ่งที่จะได้เรียนรู้ในบทเรียน
ในบทเรียนนี้จะได้เรียนรู้แนวทางในการออกแบบ Green Business โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Design Thinking เครื่องมือนี้จะช่วยให้เราเห็นภาพตั้งแต่เริ่มคิดว่าจะทำไปเพื่อใคร ปัญหาคืออะไร และเราจะสร้างสรรค์ไอเดียออกมาอย่างไรให้เป็นรูปธรรม โดยภาพรวมของบทนี้จะแบ่งหัวข้อในการเรียนรู้ดังนี้
- ธุรกิจสีเขียวและนวัตกรรม (Green Business and Innovation)
- กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
- ตัวอย่างธุรกิจสีเขียว ที่ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
- การนำกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการสร้างนวัตกรรม
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ได้สร้างการออกแบบโดยนำมนุษย์เป็นศูนย์กลาง สามารถแก้ปัญหาโดยอาศัยกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้นการออกแบบธุรกิจสีเขียวและนวัตกรรมจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ความท้าทายของกระบวนการคิดเชิงออกแบบคือ การออกแบบไม่ได้เริ่มจากการมีผลิตภัณฑ์ แต่ต้องเริ่มจากการเข้าใจบริบทของปัญหา และกระบวนการคิดเชิงออกแบบไม่ได้ประสบความสำเร็จในการคิดรอบเดียว เป็นกระบวนการที่ต้องทำซ้ำ ลองผิดลองถูก ออกแบบ ลงพื้นที่ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสีเขียวให้เกิดขึ้นจำเป็นต้องอาศัยความอดทน และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของผู้ประการนวัตกรรม
เรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา
“PILA Farm Studio” ธุรกิจที่เริ่มจากการเปลี่ยนแบรนด์แฟชั่น ใส่ความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบสู่การเป็นแบรนด์สินค้าเกษตรสายกรีนที่ยกระดับสินค้าชุมชนให้เพิ่มมูลค่าอย่างยั่งยืน
