Green Economy and Circular Economy
ธนาคารออมสินร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นำเสนอหลักสูตร "Entrepreneurship & Green Business Design การเป็นผู้ประกอบการและการออกแบบธุรกิจนวัตกรรมสีเขียว"
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบโดยใช้แนวคิด "Business Life Cycle Framework"
บทเรียนนี้จะอยู่ในหัวข้อ "Environmental Externalities ด้านสภาพแวดล้อมภายนอก"

สิ่งที่จะได้เรียนรู้ในบทเรียน
Green economy คือเศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก หรือเศรษฐกิจที่ส่งผลทำให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์และความเท่าเทียมกันทางสังคม ลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและลดความขาดแคลนด้านนิเวศน์วิทยา
Circular economy คือ เศรษฐกิจที่ถูกออกแบบให้หมุนเวียนทรัพยากรอยู่ในระบบยาวนานที่สุด ซึ่งเป็นการลดขยะลดมลพิษและฟื้นฟูธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจแบบเส้นตรง Linear economy ซึ่งเป็นการสร้างใช้ และนำไปทิ้ง
เพื่อให้สามารถออกแบบ Green Business ได้อย่างสมบูรณ์ การเรียนรู้แนวคิด Green economy และ Circular economy จะช่วยให้การออกแบบธุรกิจสมบูรณ์ขึ้น โดยในบทเรียนนี้จะมีหัวข้อการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจดังนี้
- หลักการสำคัญของ Green economy
- หลักการสำคัญของ Circular economy
- วิธีการสร้าง Circular economy ด้วยหลักการ 9R
- ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสร้าง Green economy
- ตัวอย่างของ Green economy ในต่างประเทศ
- ตัวอย่างของ Green economy ในประเทศไทย
- ตัวอย่างของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Circular economy ในประเทศไทย
- การวัดผล Green economy
- ความท้าทายและโอกาสของ Green economy
- แนวทางการขับเคลื่อนสู่ Green economy และ Circular economy
เรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา
"สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS)" สถาบันที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตามหลักวิศวกรรม ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้และร่วมพัฒนานวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนตํ่าและการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม
