MARTECH หลายคนอาจจะส่งสัยว่าคืออะไร ?
ต้องบอกก่อนว่า MARTECH ในที่นี้ไม่ใช่มาร์เก็ตติ้งเทคโนโลยีอย่างที่หลายคนคุ้นหูคุ้นตา แต่เป็นนิยามใหม่ของวงการสตาร์ทอัพที่พูดถึงการนำเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีเสมือนจริง (AR/ VR) ระบบคลาวด์และ IoT ฯลฯ มาผสมผสาน และพัฒนาเข้ากับอุตสาหกรรมที่เราน่าจะคุ้นเคยกันที่สุดซึ่งก็คืออุตสหกรรมสร้างสรรค์ CREATIVE ECONOMY หรือ CREATIVE INDUSTRY โดยเน้นสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ด้าน อันประกอบด้วย M ที่ย่อมาจาก MUSICTECH, A ที่ย่อมาจาก ARTTECH และ R ที่ย่อมาจาก RECREATIONTECH
MUSICTECH
อุตสาหกรรมดนตรีคืออุตสากรรมสากลที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้ยังไงเพื่อให้เกิดมูลค่าและประโยชน์สูงสุด โดยมีการนำเทคโนโลยีเชิงลึกต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของแวดวงอุตสาหกรรมดนตรี เช่น การสร้างสรรค์เพลงด้วยระบบดิจิทัล การพัฒนาแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเพลง การบริหารที่เกี่ยวข้องกับงานดนตรี ตลอดจนการนำ AI มาใช้ตรวจจับด้านลิขสิทธิ์เพลง
สำหรับบทเรียนนี้ เราจะมาเรียนรู้เกี่ยว M ที่หมายถึง MUSICTECH / อุตสาหกรรมดนตรี อีกหนึ่งธุรกิจ ในอุตสหกรรม MARTECH ที่จะนำเสนอทางเลือกหรือทางออกใหม่ ๆ ให้กับผู้ที่สนใจ มาเรียนรู้กันว่า MUSICTECH / อุตสาหกรรมดนตรีนั้นเป็นอย่างไร นอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยีแล้วยังมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง revenues model เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในบทเรียนจะได้เห็นถึงวิธีคิดหรือการมองนวัตกรรมไม่เหมือนเดิมที่ไม่ใช่การวิจัย พัฒนา แล้วนำไปสู่นวัตกรรมที่อยู่ภายในห้องแลปอย่างเดียวอีกต่อไป แต่คือ การผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ มาร่วมเรียนรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพลง เพื่อเป็นไอเดียและแรงบันดาลใจในการพัฒนาสู่การสร้างนวัตกรรมด้านดนตรีต่อไป กับ 10 วิทยากรชั้นนำ ทั้ง เจ้าของธุรกิจ, ศิลปิน หรือแม้แต่องค์กรภาครัฐ โดยประกอบไปด้วย
1.นุสรา กาญจนกูล
รองอธิบดี
กรมทรัพย์สินทางปัญญา
2.ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี
Co-Founder & Festival Director Bangkok Music City และ Co-Founder & Director of Community Educational Partnership : Fungjai
3.พงศ์สิริ เหตระกูล
Co-Founder & Festival Director Bangkok Music City และ Director Media Nylon Thailand / Time Out Bangkok
4. กรรณ ศิธาพัฒน์
Managing Director, CEO : MY BAND
5.อาร์ต-กฤช วิรยศิริ
ศิลปิน, นักแต่งเพลงและโปรดิวซ์เซอร์ , ศิลปินในนาม A.R.T. และอดีตมือกีตาร์วง SeventhScene
6.ศิวกร จารุพงศา
เจ้าของร้านแผ่นเสียง FatBlack Record และ เจ้าของบริษัท Wink Wink Production
7.ไตรเทพ ศรีกาลรา
CEO & Founder of Proplugin Group
8.ศิรษา บุญมา และ ปานสิตา ศศิรวุฒิ
Co-Founder Hear&Found ธุรกิจที่ใช้ดนตรีลดการแบ่งแยกในสังคม
9.เทิดศักดิ์ จันทร์ปาน
Sound Composer ผู้อยู่เบื้องหลังภาพยนต์และละครมากมายเช่น ขุนแผนฟ้าฟื้น ขุนพันธ์ หรือ เลือดข้นคนจาก ผู้ที่เคยได้รับเลือกจากศิลปินระดับโลกอย่าง Jay Chou ให้ร่วมทำเพลงประกอบภาพยนต์ที่เขากำกับ
10.วสกร เดชสุธรรม
Frontman แห่งวงร็อคเมทัลชื่อดังของไทย อย่างวง "กล้วยไทย" และยังเป็นผู้บริหารค่ายเพลง Banana Record และ BananaX TV
เนื้อหาคอร์ส
1. คนทำเพลงกับจุดลงตัวของคำว่าเทคโนโลยีและจิตวิญญาณ
07:49
Innovation กับ ดนตรี สมัยก่อนเนื่ยยังมีคนถงเถียงกัน แต่ว่า ณ ปัจจุบันไม่มีใครพูดถึงและ เพราะว่ามันคือส่วนของการทำงานดนตรีไปแล้ว การจะทำเพลงต้องใช้ Technology กับ จิตวิญญาณ ควบคู่ไปกับการทำ พบกับคุณอาร์ต กฤช วิรยศิริ หรือ อาร์ตเซเว่นซีน กับบทสนทนาในหัวข้อ MARTECH
2. โมเดลธุรกิจของชุมชนดนตรีแบบเห็ดๆ ที่ชื่อว่า Fungjai
07:36
คำว่า “อินดี้” ต่างคนก็ต่างนิยามความหมายในรูปแบบของตัวเอง แล้วเพลงอินดี้หล่ะ เราก็มองว่าเป็นเพลงที่มีความหลากหลายหรือมีแนวทางที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป อินดี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการรันวงการเพลง บ้านเรา มาเรียนรู้แนวทางในการทำธุรกิจ ที่เริ่มต้นจากคำว่าอินดี้ กับ Co-Founder อย่าง คุณพาย ปิยะพงษ์ หมื่นประเสริฐดี อินดี้อย่างไรให้ได้ตัง อยากรู้ต้องลองฟัง
3. เมื่อเทศกาลดนตรีกลายมาเป็นธุรกิจที่ทำเงิน ภายใค้แบรนด์ Nylon thailand
07:49
SOFAR SOUNDS เป็นคอนเสิร์ตแฟลตฟอร์มหนึ่ง ที่ไม่มีทางรู้เลยว่าภายในงานจะมีไลน์อัพวงอะไรมาเล่นรวมทั้งสถานที่ จนกว่าจะเสี่ยงดวงไปถึงหน้างาน เป็นงานดี ๆ ที่จะช่วยพัฒนาวงการเพลงให้กว้างขึ้นพร้อมเปิดต้อนรับคนมีใจรักในเสียงเพลง ให้มาลองฟังดนตรีที่ตัวเองไม่รู้จัก พร้อมสนับสนุนและสนุกกับดนตรีถึงแม้จะไม่รู้จักวงเลยก็ตาม พบกับ คุณต้อม พงศ์สิริ เหตระกูล Director Media Nylon Thailand / Time Out Bangkok เวลาคนพูดถึงอาร์ท หรือดนตรี คนเราก็มักจะมองว่าเป็นแค่เครื่องมือที่ใช้ในความสุนทรีย์ อาไว้พักผ่อน หรือเต้นกินรำกิน เราควรจะพูดถึงและมองถึงในแง่ที่มันเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่และสามารถหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ เพราะเชื่อในคนที่รักในเสียงดนตรีจริงๆ แม้ว่าจะเป็นวงที่ไม่รู้จัก ซึ่งถ้าหากมีความเชื่อตรงนั้นอยู่ก็พร้อมที่จะมาดู
4. “กรมทรัพย์สินทางปัญญา” กับบทบาทการผลักดันนวัตกรรมทางความคิด
07:43
ทรัพย์สินทางปัญญา กับ นวัตกรรม MARTECH ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ช่องทางและการบริโภคงานต่างๆก็สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายเหมือนกับทางคู่ขนานที่วิ่งไปพร้อมกับเทคโนโลยีและความสะดวกคือการละเมิดที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา มองลองเรียนรู้ในการเดินหน้าธุรกิจ ที่จะต้องเริ่มจากการหยุดละเมิด" พบกับพี่อ่อม-นุสรา กาญจนกูล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญากับเรื่องราวด้านทรัพย์สินทางปัญญาในหัวข้อ MARTECH
5. “MyBand” แพลตฟอร์มการจองวงดนตรี ตั้งแต่งานเลี้ยงไปจนถึงอีเวนต์ จบได้ในที่เดียว
07:29
MYBAND แพลตฟอร์มทางดนตรีที่เชื่อว่าใคร ๆ ก็สามารถจัดการเรื่องดนตรีได้ง่าย ๆ พบกับคุณก้อง กรรณ ศิธาพัฒน์ Managing Director, CEO MY BAND สงสัยในสิ่งที่ชอบ ชอบในสิ่งที่สงสัย อาจจะฟังดูยาก แต่คือถ้ามองให้รอบด้าน การที่เรามีคำถามที่ดี มันก็มักจะมีคำตอบที่ดีสำหรับเราเสมอ นี่คือบทเรียนและแรงบันดาลใจที่ทำให้เชื่อว่า ไม่มีคำว่าช้าสำหรับการสร้างแบรนด์จากการคิด การสงสัย และชอบในสิ่งที่เราทำ กว่าจะมาถึงจุดนี้ MY BAND ต้องผ่านการคิด ช่วยกันระดมสมอง และตั้งคำถามกันเยอะมาก ๆ ตั้งแต่ก่อนเริ่มธุรกิจ จนสุดท้ายก็เจอในสิ่งที่เห็นว่าดีที่สุด และก็ร่วมกันพาสิ่งที่รักเดินต่อไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะไปได้
6. Fatblack Record ธุรกิจแผ่นเสียงที่ไม่เคยเงียบเหงา
09:30
หลังจากที่เราได้ก้าวเข้าสู่สังคมยุคดิจิตอล อีกทั้งด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เร็วจนเราอาจจะก้าวตามและปรับตัวตามไม่ทัน แต่ในทางตรงกันข้ามยังมีเทรนของโลกที่นิยมและหันกลับมาสนใจในสิ่งที่จับต้องได้มากยิ่งขึ้น อาจเป็นเพราะความชอบสู่ธุรกิจ พบกับคุณวกร จารุพงศา เจ้าของร้านแผ่นเสียง FatBlack หนึ่งในธุรกิจ MARTech ที่เราอยากจะแนะน
7. ต๋อย เทิดศักดิ์ ... "เพราะทุกสิ่งในโลก ต้องมีดนตรีประกอบ"
07:48
คนอาจจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการทำดนตรีประกอบ แต่นี่คืออีกหนึ่งธุรกิจสำคัญที่สามารถทำมูลค่าได้มหาศาล แต่ที่สำคัญกว่าที่พี่ต๋อยจะก้าวขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆของการทำดนตรีประกอบเมืองไทยและระดับเอเซีย ต้องผ่านอะไรมาบ้างและมีแนวคิดอย่างไร ต้องไปติดตามชม
8. Banana Record กับความอยู่รอดของค่ายเพลง “Metal”
07:11
เอส วสกร เดชสุธรรม ฟร้อนแมนวงกล้วยไทย ผู้บริหาร BANANA RECORD & BANANA MAX TV ต้องยอมรับว่า 16 ปีที่ผ่าน BANANA RECORD เป็นค่ายเพลงนอกกระแสที่ดิ้นรนฝ่าฟัน และงัดไอเดียใหม่ๆออกมาให้เราได้แปลกใจอยู่เสมอ “ คุณอาจจะมีแนวเพลงที่คุณชอบ แต่ BANANA RECORD กำลังทำงานเพลงที่เป็นตัวเลือกใหม่ๆสำหรับคุณ คุณอาจจะไม่รู้ว่าคุณชอบแนวเพลงแนวนี้ แต่คุณต้องลองเสพ”
9. “Hear and Found” เมื่อเส้นแบ่งทางสังคมเมืองและชนเผ่าถูกทลายลงด้วยดนตรี
08:57
ในการทำธุรกิจดนตรี หากจะพูดถึงมิติในแง่มุมของการนำเสนอและนำไปใช้ หลายคนคงอาจจะมีมิติหรือมุมมองในแค่ของการถูกนำไปใช้แค่ในงานประเพณี และเพื่อความบันเทิงเท่านั้น มาดูกันว่าดนตรีจะสามารถลดการแบ่งแยกในสังคมหรือสร้างมูลค่าเพื่อสังคมอย่างไร? พบกับ เม–ศิรษา บุญมา และ รักษ์–ปานสิตา ศศิรวุฒิ Hear & Found อีกหนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจ
10. Pro Plug-in จากร้านขายเครื่องดนตรีสู่ Music Industry เต็มรูปแบบ
08:30
คุณโจ ไตรเทพ ศรีกาลรา CEO & Founder of Proplugin กับการบอกเล่าความเข้าใจใน Ecosystem ของอุตสาหกรรมแล้วสร้างให้เกิดเป็นธุรกิจครบวงจรที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดและรอบด้าน ตลอดจนการปรับตัวรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่กำลังไปอย่างรวดเร็ว