Growth Program for Startup

Growth Program for Startup

หลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจฐานนวัตกรรมสู่การลงทุน

ปัจจุบันการเกิดใหม่ของธุรกิจในรูปแบบต่างๆมีมากมาย บางธุรกิจก็ประสบความสำเร็จ บางธุรกิจก็ล้มเหลว แต่ธุรกิจที่เริ่มต้นได้ดีหลายๆตัวกลับไม่สามารถต่อยอดและสร้างรายได้ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่วนใหญ่จะติดปัญหาตรงการขยายตัวหรือ Scale up บางรายจะติดกับดักจนไม่สามารถขยายตัวได้ บางรายขยายตัวจนล้มเหลวจนถึงขั้นต้องปิดกิจการลงเลยทีเดียว จึงเป็นที่มาของหลักสูตรนี้ที่มีความตั้งใจจะนำเสนอองค์ความรู้เพื่อแก้ไขและชี้แนะแนวทางในการแก้ปัญหานี้

หลักสูตรนี้มุ่งต่อยอดศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจฐานนวัตกรรม (Innovation-Based Enterprise : IBE) ครอบคลุมถึงวิสาหกิจเริ่มต้น (startups) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทยที่มีผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี ฐานลูกค้าและผลประกอบการแล้ว และมีความสนใจหรือมีแผนการขยายผลเชิงพาณิชย์ ให้มีโอกาสพัฒนาและส่งเสริมจุดแข็งของธุรกิจให้มีความพร้อมและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนภายนอก

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากบทเรียนนี้คือ แนวทางในการต่อยอดศักยภาพของผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมไทยในด้านการจัดการธุรกิจ กลไกสนับสนุนด้านการเงิน การขยายธุรกิจ รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอธุรกิจต่อแหล่งทุนเพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตให้ธุรกิจ

นำเสนอผ่านวิทยากรผู้เชี่ยวชาญรวมไปถึงเจ้าของกิจการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จ ที่จะมาเล่าประสบการณ์และแนะแนวทางการดำเนินธุรกิจในโลกความเป็นจริง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการที่ยังลังเลในแผนธุรกิจของตัวเอง หรือแนะแนวทางแก่ผู้ที่ยังไม่มีแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างความเติบโตให้แก่บริษัท

เนื้อหาคอร์ส
1. ต้องเจออะไรบ้างในการสร้างธุรกิจและระดมทุนใน Startup
12:27
สอนโดย คุณ ภีม เพชรเกตุ
ผู้ก่อ ตั้งและ CEO ของ PEAK (peakaccount.com)
จุดเริ่มต้นในการทำ บริษัท PEAK ที่เป็นบริษัทในการให้บริการในการทำบัญชีของ SMEs ทางออนไลน์ และได้อธิบายถึงระยะการระดมทุนที่ทาง Startup ต้องเจอ คือ ในระยะเริ่มต้นซึ่งสามารถระดมทุนได้จากกลุ่ม 3F คือ Family, Friend, Fool.ปัญหาที่ startups พบเจอในช่วงเริ่มต้นธุรกิจคือ การสื่อสารเป้าหมายกับนักลงทุน และ ต่อมาเมื่อเริ่มอยู่ในช่วงที่เติบโต จะเจอกับปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อใช้ในการเติบโต สิ่งท้าทายที่ต้องเจอในระหว่างการขยายธุรกิจคือการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการเข้ามาทำงานในบริษัท โดยการเข้าหานักลงทุนแต่ละกลุ่มก็จะมีวิธีและแนวทางที่ต่างกันไป โดยจะมีกลุ่มนักลงทุนอยู่หลากหลายประเภท เช่น Angels, VCs และ CVCs. และสุดท้ายได้พูดถึงจุดสำคัญในระดมทุนจากนักลงทุน เช่น Term and Condition. บทบาทที่นักลงทุนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับธุรกิจ Startup หลังจากที่ได้รับการระดมทุน
2. เส้นทางสู่การเป็น Startup และความสัมพันธ์กับนักลงทุน
08:11
สอนโดย คุณ พงษ์ชัย เพชรสังหาร
CEO and Co-founder, Dietz
จุดเริ่มต้นของบริษัท Precision Dietz จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท Tele Medicine Platform หรือระบบการแพทย์ทางไกล คือการที่มาแก้ปัญหาของการลงระยะเวลารอคอยในการพบแพทย์ โดยการเลือกนักลงทุนนั้นไม่ใช่เฉพาะนักลงทุนที่สามารถเลือกลงทุนในบริษัท Startup ได้เพียงอย่างเดียว แต่ทาง Startup เองก็สามารถตั้งโจทย์ในการเลือกนักลงทุนได้ด้วย โดยที่ควรที่จะมีวิสัยทัศน์ที่ตรงกัน มีความเป็น Strategic Investor หรือพันธมิตรทางธุรกิจ และเคมีควรต้องตรงกัน สามารถเข้ากันได้ในการทำงาน เพื่อช่วยให้การปรึกษาในการขยายธุรกิจให้เติบโตไปในอนาคต โดยการทำงานกับนักลงทุนนั้น เมื่อเกิดปัญหาในการทำธุรกิจ ทางนักลงทุนก็จะให้คำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงาน และการอัพเดตข้อมูลกับนักลงทุน เช่นการทำ Data Room และ Investor Update ซึ่งจะเป็น 1-2 เดือนต่อครั้ง
3. การเตรียมข้อมูลเพื่อสร้าง Pitch Deck นำเสนอให้นักลงทุนสนใจ
15:18
สอนโดย ดร.ศรัญญา เสนสุภา
CCO & CO Founder บริษัท ดูเรียน คอร์ปอเรชัน
การเตรียมข้อมูลในการทำ Pitch Deck เพื่อเสนอธุรกิจแก่นักลงทุน โดยใช้ Pitching Model Canvas หรือ PMC และสามารถนำมาเปลี่ยนเป็น สไลด์ในการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นแบบ 1,3,5,10 นาทีเป็นต้น โดยแบ่งออกเป็นทั้งหมด 12 ช่องที่อยู่ใน PMC โดยเนื้อหานั้นก็จะประกอบด้วยเนื้อหา เช่น เรากำลังนำเสนอให้ใครฟัง, ใครเป็นคนใช้สินค้าหรือบริการนี้, สิ่งที่กลุ่มลูกค้าของเราต้องการหรือมีปัญหา, จุดเด่นของตัวธุรกิจ ต่างจากเจ้าอื่นๆยังไง เป็นต้น
4. สิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจนอกเหนือจากข้อมูลใน Pitch Deck
13:37
สอนโดย ดร.ศรัญญา เสนสุภา
CCO & CO Founder บริษัท ดูเรียน คอร์ปอเรชัน
สิ่งที่นักลงทุนมักจะอยากรู้เพิ่มเติมเมื่อเรานำเสนอธุรกิจแก่นักลงทุน เช่น กลุ่มผู้ก่อตั้งรู้จักกันได้ยังไง ถ้าเกิดปัญหาขึ้นระหว่างกลุ่มผู้ก่อตั้ง จะแก้ปัญหายังไง และทางบริษัทต้องการสนับสนุนอะไรจากนักลงทุนบ้าง หรือความเสี่ยงในการธุรกิจนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาดเมื่อไปขอรับการระดมทุนจากนักลงทุน เช่น การแต่งกาย ควรแต่งให้ถูกกาลเทศะ ไม่ควรแต่งตัวไม่เรียบร้อยหรือไม่ให้เกียรติสถานที่และนักลงทุน จะทำให้นักลงทุนเกิดความรู้สึกไม่ดีตั้งแต่แรกเห็น หรือการใช้น้ำเสียงในการนำเสนอ โดยไม่ควรใช้น้ำเสียงที่ราบเรียบตั้งแต่ประโยคแรกในการนำเสนอ เพื่อจะทำให้นักลงทุนรู้สึกไม่น่าสนใจ
5. Fundraising Stage และ Startup Stage
14:30
สอนโดย คุณ ศรัณย์ สุตันติวรคุณ
หุ้นส่วนบริหาร บริษัท เอ็น-เวสต์ เวนเจอร์ จำกัด
คุณศรัณย์ได้กล่าวถึง Stage ในการระดมทุนของ Startup ที่กำลังโต ซึ่งจะหมายถึง Seed Stage หรือ Series A และ Stage ของบริษัทที่จะประกอบไปด้วย Idea Stage >> Product Market Fit Stage >> Go-to-Market Fit Stage และ Stage ท้ายๆของการโตบริษัท คือ Scaling Stage นอกจากนี้ ยังได้พูดถึง Factors หรือ ปัจจัย ที่ทำให้บริษัท Startup โตขึ้นได้ คือ ความพร้อมของทีมงาน ขนาดของตลาด สิ่งที่แตกต่างจากคู่แข่ง และการเข้าสู่ตลาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยแบบ Macro นอกจากนี้ยังพูดถึงการที่จะหา Product Market Fit และ Go-to-Market Fit ให้เจอ
6. จะหาเงินเพื่อมาขับเคลื่อนกิจการ...ยังไงดี
13:33
สอนโดย คุณ ศรัณย์ สุตันติวรคุณ
หุ้นส่วนบริหาร บริษัท เอ็น-เวสต์ เวนเจอร์ จำกัด
คุณศรัณย์ได้กล่าวต่อถึงเรื่องการที่จะหาเงินมาเพื่อขับเคลื่อนบริษัท โดยที่จะแบ่งหลักๆคือ Equity หรือ หุ้น, Debt คือ การไปกู้มา และอย่างสุดท้ายคือ Internal Cashflow คือใช้เงินหมุนเวียนในบริษัทในการประกอบกิจการ โดยการ Fundraising คือส่วนหนึ่งของ Equity คือการนำหุ้นไปแลกเป็นเงินทุนกลับมาใช้ในบริษัท และกล่าวถึงว่า บริษัท Startup ที่อยู่ในแต่ละ Stage นั้นจะมีกลุ่มนักลงทุนที่ต่างกัน อย่างเช่น Idea Stage นั้นจะมีโอกาสสูงมากที่นักลงทุนจะมาจากกลุ่ม 3F คือ Family, Friend, Fool. พอเข้ามาอยู่ใน Stage ของ Product-Market Fit, Go-to-Market Fit และ Scaling นั้น ก็จะมีกลุ่มนักลงทุนที่เป็น Professional Investor เข้ามาเช่น Angels และ VCs โดยที่ถ้ายิ่งอยู่ใน early stage มากก็จะมีโอกาสจะเป็น angels มากขึ้น และถ้ายิ่ง late stage หรือ stage ท้ายๆ ก็จะมีโอกาสเป็น VCs มากขึ้น และ Fundraising Stage นั้น ไม่ได้มีจำกัดว่า มีกี่ Stage ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหุ้นที่จะยอมเสียแต่ละรอบการระดมทุน ซึ่งปกติก็จะอยู่ที่ 5-6 รอบ แต่จำนวนเงินในแต่ละรอบโดยประมาณการที่เกิดการลงทุนขึ้น
7. อะไรคือ Due Diligence และเราต้องทำอะไรบ้าง
11:42
สอนโดย คุณ ศรัณย์ สุตันติวรคุณ
หุ้นส่วนบริหาร บริษัท เอ็น-เวสต์ เวนเจอร์ จำกัด
คุณศรัณย์ได้พูดถึง Fundraising Process ซึ่งจะอยู่ในช่วงระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ 4-6 เดือน อาจจะมีเร็วหรือช้ากว่านี้ ขึ้นอยู่กับส่วนที่ใช้เวลานานที่สุดใน Fundraising Process จะเรียกว่า Due Diligence และ Negotiation โดยการทำ Due Diligence นั้นก็คือการที่นักลงทุนเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลบริษัท ที่ได้เคยนำเสนอกับนักลงทุนไปก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง รายได้ หรือ กลุ่มลูกค้าที่ใช้งาน และจะแบ่งแยกย่อยออกเป็นหมวดหมู่ในการตรวจสอบเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ Commercial, Finance & Tax และส่วนของ Legal นอกจากนี้ยังพูดถึงการทำ Financial Forecast ซึ่งจะยิ่งสำคัญมากขึ้นเมื่อก้าวสู่ Stage ที่สูงขึ้น
8. ควรพิจารณาอะไรใน Term sheet และ เราสามารถต่อรองอะไรกับนักลงทุนได้บ้าง
13:11
สอนโดย คุณ ศรัณย์ สุตันติวรคุณ
หุ้นส่วนบริหาร บริษัท เอ็น-เวสต์ เวนเจอร์ จำกัด
คุณศรัณย์ยังได้กล่าวต่อในหัวข้อ Fundraising Process แต่จะพูดถึงเรื่องการ Negotiation คือ การต่อรองทางธุรกิจ ซึ่งหมายถึง ถ้าการต่อรองไม่สำเร็จ ก็จะไม่เกิดการลงทุนขึ้น ซึ่งนอกจากราคาหรือมูลค่าทางธุรกิจ ก็จะมีข้อตกลงที่เพิ่มเข้ามา เพื่อปกป้องสิทธิของนักลงทุน เช่น Liquidation Preference, Tag-Along และ Drag-Along เป็นต้น และยังมีในเรื่องของการบริหารจัดการภายในบริษัท ซึ่งนักลงทุนอาจจะขอต่อรองให้มีสิทธิอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆภายในบริษัทได้ และได้พูดถึงข้อสัญญาที่ควรระวังที่มักจะเกิดขึ้นระหว่างนักลงทุนและเจ้าของบริษัท ซึ่งข้อสัญญาต่างๆพวกนี้ บางอย่างก็สามารถขอต่อรองกับทางนักลงทุนได้
9. ชีวิตและความสัมพันธ์...หลังได้รับการลงทุน
08:54
สอนโดย คุณ ศรัณย์ สุตันติวรคุณ
หุ้นส่วนบริหาร บริษัท เอ็น-เวสต์ เวนเจอร์ จำกัด
ความสัมพันธ์และชีวิตของเจ้าของบริษัท ที่เปลี่ยนไป หลังจากเกิดการลงทุนจากนักลงทุน ซึ่งจะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน หากได้รับการลงทุน เนื่องจากมีเจ้าของเพิ่มเข้ามา ซึ่งก็อาจจะเป็นความสัมพันธ์ในทางที่ดี และไม่ดี โดยคุณศรัณย์ได้เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ก่อตั้งบริษัทและนักลงทุนว่าเหมือนการเดินทางไกลด้วยกันกับนักลงทุน โดยถ้ามีความสัมพันธ์ที่ดี นักลงทุนก็เหมือนจะเป็นคนที่ช่วยดูแผนที่บอกทาง ว่าข้างหน้ารถติด ควรจะระวัง คอยเตือน คอยให้คำปรึกษาคนขับที่เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท เพื่อให้ไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ด้วยกัน แต่ถ้าอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่ดีนั้น ก็เหมือนกับการแย่งพวกมาลัยคนขับด้วยกัน สุดท้ายก็จะทำให้รถคว่ำ ซึ่งก็คือ การที่บริษัทที่ทำมาได้พังทลายลงไป และการที่ตั้ง KPI ในการทำงานร่วมกันกับทางนักลงทุน ให้ดำเนินไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ เพื่อการเติบโตในอนาคต
เนื้อหาทั้งหมด 9 วิดีโอ รวม 01 ชั่วโมง 51 นาที
แต่ละบทเรียน จะมีแบบทดสอบหลังเรียน บทละ 5 ข้อ ซึ่งจะต้องผ่านอย่างน้อย 4 ข้อเพื่อเข้าสู่บทต่อไป และทุกบทเรียนจะต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80% ถึงจะมีสิทธิ์เข้าสู่แบบทดสอบ
ฟรี
ผู้สอน
ศรัณย์ สุตันติวรคุณ

หุ้นส่วนบริหารของบริษัท เอ็น-เวสต์ เวนเจอร์ จำกัด (NVest Venture) และอดีตนายกสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (TVCA)

ดร.ศรัญญา เสนสุภา

CCO & CO Founder บริษัท ดูเรียน คอร์ปอเรชัน

ภีม เพชรเกตุ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง PEAKaccount บริษัท พี ยู ยู เอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด (PUUN Intelligent Co., Ltd.)

พงษ์ชัย เพชรสังหาร

CEO and Co-founder, Dietz

รีวิว
NIA MOOCs Tech Support