คู่มือปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรม

คู่มือปฏิบัติด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผู้ประกอบการนวัตกรรม

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่แข็งแกร่งของประเทศ จำเป็นต้องอาศัยการสร้างศักยภาพบุคลากรด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความรู้และความเข้าใจ มีทักษะและความสามารถในการดำเนินการด้านทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง

  • การวางกลยุทธ์
  • การดำเนินการขอรับการคุ้มครอง
  • การนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านทรัพย์สินทางปัญญา ที่สามารถขยายผลสู่เชิงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งยังเป็นการยกระดับความรู้ ทักษะ และความพร้อมด้านทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม ตลอดจนบุคลากรในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจําเป็นต้องดําเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ จึงเป็นที่มาของหลักสูตรนี้

หลักสูตรนี้ต่อยอดมาจาก หลักสูตร IP for Business Innovation ทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับธุรกิจนวัตกรรม (IP 101) ซึ่งมีการพัฒนาองค์ความรู้จาก Explore (พื้นฐานองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม) ไปสู่ในระดับ Expand (องค์ความรู้เพื่อการต่อยอดธุรกิจ) โดยมีการร่างหลักสูตรขึ้นมาบนพื้นฐานของ Pain Point ที่เกิดขึ้นจริงในกลุ่มผู้ประกอบการ โดยองค์ความรู้ที่ผู้เรียนจะได้จากหลักสูตร มีดังนี้

  • IP Protection
  • Patent Search
  • Patent Drafting
  • IP Finance
  • IP Technology
  • IP Exploitation
  • IP Enforcement

เราหวังว่าหลักสูตรนี้จะเป็นส่วนสำคัญแก่ภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็น องค์กรขนาดเล็ก ถึงขนาดใหญ่ ผู้ประกอบการ SMEs หรือ Startup จะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ เพื่อต่อยอดความสำเร็จ สร้างฐานรากที่สำคัญของประเทศนวัตกรรมของเราได้ จากประสบการของวิทยากรทั้ง 4 ท่าน

เนื้อหาคอร์ส
1. Course Intro
03:05
แนะนำหลักสูตร
2. Module 1 IP Awareness and Attitudes
11:30
✍ สอนโดย ดร.พิเศษ จียาศักดิ์
• ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักกฎหมายและสนับสนุน บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด
และ คุณภเชศ จารุมนต์
• หัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจและเป็นแต้มต่อสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบการนอกจากไม่มีความรู้ในการขอรับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ยังไม่ได้ตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ที่จะตามมา จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ผู้ประกอบการหรือบุคลากรในองค์กร ตระหนักถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
▪ Coverage :
▫ ความสำคัญของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับผู้ประกอบการประเภท Innovation-Based Enterprise
▫ ตัวอย่างผลตอบรับและการเติบโตทางธุรกิจภายหลังได้รับการคุ้มครองจากประสบการณ์ตรงของผู้ประกอบการ
3. Module 2 Patent Search and Analysis
10:39
✍ สอนโดย เทอดธรรม ไทยเวสน์
• นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
นวัตกรรมที่เราสร้างขึ้นไปซ้ำหรือเหมือนกับของใครหรือไม่? การสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตรสามารถให้คำตอบได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการละเมิด หรือใช้ในการเพิกถอนและคัดค้านสิทธิบัตร ที่สำคัญยังสามารถวิเคราะห์แนวโน้มของเทคโนโลยีที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมและแนวโน้มทางธุรกิจ ที่จะเป็นประโยชน์ในการประเมินมูลค่าสิทธิบัตรต่อไปด้วย
▪ Coverage :
▫ รู้จักเครื่องมือสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร
▫ กิจกรรมเชิงปฏิบัติการสืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตรด้วยตนเอง
▫ ศึกษาการวางกลยุทธ์และแนวทางการใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร
4. Module 3 Patent Drafting
08:41
✍ สอนโดย กานต์สิรี ปิตานุวัตร
• นักวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา
นวัตกรรมที่ผลิตขึ้นเองนั้น ผู้ผลิตหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ย่อมมีความรู้ความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ของตนดีที่สุด แต่ที่ผ่านมามักจะให้บริษัทที่ปรึกษาเป็นผู้ดำเนินการยื่นขอคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้ ซึ่งนอกจากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้วยังจะต้องใช้เวลาเตรียมเอกสาร จะดีกว่าหรือไม่ที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาจะศึกษาเทคนิควิธีการร่าง และลงมือทำเป็นด้วยตนเอง
▪ Coverage :
▫ แนวคิดและภาพรวมการร่างสิทธิบัตร
▫ เทคนิคการร่างสิทธิบัตรด้วยตัวเอง
▫ ตัวอย่างร่างสิทธิบัตรที่ประสบความสำเร็จสูง
▫ ขั้นตอนการจดสิทธิบัตร
5. Module 4 Trademarks
08:10
✍ สอนโดย เทอดธรรม ไทยเวสน์
• นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมายการค้าจะมีประโยชน์ในทางธุรกิจที่จะช่วยสร้างการจดจำให้แก่ผู้บริโภคได้ และยังเป็นการรับประกันทางด้านกฎหมายที่จำเป็นจะต้องติดอาวุธให้กับผู้ประกอบการถึงวิธีการและขั้นตอนในการขอจดเครื่องหมายการค้า และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการนำเอาเครื่องหมายทางการค้าที่ได้รับการคุ้มครองแล้วไปใช้ประโยชน์ต่อในการสร้างแบรนด์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
▪ Coverage :
▫ บทบาทความสําคัญของเครื่องหมายการค้ากับการแข่งขันทางการตลาด
▫ เทคนิคการขอจดเครื่องหมายทางการค้า
▫ การสร้างแบรนด์และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้วยเครื่องหมายการค้า
6. Module 5 Trade Secrets
08:22
✍ สอนโดย เทอดธรรม ไทยเวสน์
• นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ความลับทางการค้าที่มีทั้งประโยชน์และข้อเสียเปรียบเมื่อเทียบกับการจดสิทธิบัตรที่ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเพื่อให้ได้วิธีการที่เหมาะสมกับนวัตกรรมของตน รวมถึงศึกษาขั้นตอนตั้งแต่การตรวจสอบความลับทางการค้าภายในองค์กร (Trade Secrets Audit) เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บความลับทางการค้า (Trade Secrets Inventory System) ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนจะดำเนินการทำความลับทางการค้า และนำไปใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจ
▪ Coverage :
▫ ความลับทางการค้า vs. สิทธิบัตร กับสิทธิประโยชน์ที่ต่างกัน
▫ ขั้นตอนการทำความลับทางการค้า
▫ การใช้สัญญาความลับทางการค้าเพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจ
7. Module 6 Patent Cooperation Treaty (PCT)
08:40
✍ สอนโดย กานต์สิรี ปิตานุวัตร
• นักวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา
ข้อตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศสมาชิก หรือการจด PCT มีความสะดวก และจะลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตรที่ต้องการขอยื่นรับสิทธิบัตรในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งสามารถยื่นคำขอเพียงครั้งเดียวที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ประกอบการจะได้เรียนรู้ขั้นตอนและเงื่อนไขการจดของประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นการเปิดทางไปสู่การจดสิทธิบัตรต่อไป
▪ Coverage :
ความสำคัญของการยื่นคำขอ PCT และสิทธิประโยชน์
▫ ขั้นตอนการยื่นคำขอ PCT
▫ สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติม หลังยื่นคำขอ PCT เพื่อให้การคุ้มครองครอบคลุม
8. Module 7 IP Law Firm
09:58
✍ สอนโดย ดร.พิเศษ จียาศักดิ์
• ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักกฎหมายและสนับสนุน บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด
ผู้ประกอบการหลายรายที่ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ไม่มีประสบการณ์ในการเตรียมเอกสาร และต้องการความสะดวก จึงเลือกที่จะจ้างบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในการดำเนินการให้ ซึ่งผู้ประกอบจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัว ประเมินศักยภาพของนวัตกรรมของตนเอง และรู้เท่าทันก่อนที่จะตัดสินใจจ้างบริษัทกฎหมายในการจดคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
▪ Coverage :
▫ Checklist ศักยภาพของตนว่ามีข้อจํากัดใดถึงควรจ้างบริษัทกฎหมาย
▫ ข้อควรระวัง และรู้เท่าทันบริษัทกฏหมาย
▫ ข้อผิดพลาดจากประสบการณ์ของผู้ที่เคยใช้บริการ
9. Module 8 Patent Infringement Cases
12:40
สอนโดย ภเชศ จารุมนต์
• หัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา
เมื่อมีการละเมิดและเกิดการฟ้องร้อง ทำให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องเสียทั้งเงินและเวลา จึงต้องเรียนรู้ขั้นตอนในการฟ้องร้องที่ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน รวมทั้งการเตรียมเอกสารและหลักฐานในการฟ้องร้อง ซึ่งกรณีตัวอย่างที่มีการฟ้องร้องจริงจะช่วยเสริมสร้างให้เห็นภาพชัดขึ้น
▪ Coverage :
▫ ขั้นตอนการดำเนินการทางกฎหมายเมื่อถูกละเมิด
▫ หลักการปฏิบัติเมื่อตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่าละเมิด
▫ กรณีไหนเข้าข่ายต้องฟ้องร้อง หรือควรไกล่เกลี่ย
▫ คดีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการฟ้องร้อง
10. แบบประเมินหลังการเรียน
01:12
ผู้ผ่านหลักสูตรสามารถดาวน์โหลดเอกสารเฉลยข้อสอบได้จากบทเรียนนี้ หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการประเมินคุณภาพของบทเรียนและระบบการใช้งาน ซึ่งความเห็นของคุณจะช่วยในการพัฒนา NIA Academy MOOCs ต่อไป และในตอนท้ายของแบบทดสอบจะเป็นแบบฟอร์มเพื่อขอใบประกาศนียบัตรออนไลน์ (Online Certificate) ออกให้โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
เนื้อหาทั้งหมด 10 วิดีโอ รวม 01 ชั่วโมง 22 นาที
บทเรียนที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำไปต่อยอดองค์ความรู้ สู่เป้าหมายในการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะบริษัทประเภท Innovation-Based Enterprise
ฟรี
ผู้สอน
พิเศษ จียาศักดิ์

ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักกฎหมายและสนับสนุน บริษัท คาราบาวตะวันแดง จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ภเชศ จารุมนต์

หัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา

กานต์สิรี ปิตานุวัตร

นักวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา

เทอดธรรม ไทยเวสน์

นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา

รีวิว
NIA MOOCs Tech Support