Perceived Value
ธนาคารออมสินร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นำเสนอหลักสูตร "การสร้างกรอบแนวคิดธุรกิจใหม่และการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development, ESG and Business Model Development Programme"
บทเรียนนี้จะอยู่ในหมวดที่ 4 "การวิเคราะห์ต้นทุนและกำหนดราคา"
เสนอเป็นวิชาที่ 6 ในหัวข้อ "การวิเคราะห์คุณค่า"
Perceived Value หรือคุณค่าที่ผู้บริโภคมองเห็นหรือรับรู้ เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน เนื่องจากสินค้าและบริการไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงแค่กับกลุ่มผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอีกด้วย การให้คุณค่าในบริบทของธุรกิจที่มีความยั่งยืนสามารถตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายได้ เรียกได้ว่าเป็นคุณค่าหลักที่จะช่วยในการแข่งขันกับธุรกิจอื่น ๆ ในตลาด คุณค่าเหล่านี้สามารถปรับเพิ่มหรือลดลงตามบริบทและการเปรียบเทียบกับผู้แข่งขันได้ การเข้าใจและการนำ Perceived Value มาปรับใช้ในธุรกิจอย่างถูกต้อง จะช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนในตลาดได้ในระยะยาว
สิ่งที่จะได้เรียนรู้ในบทเรียน
- เน้นในเรื่องของการหา Value Proposition
- การใช้เครื่องมืออย่าง Value Curve เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณค่าของสิ่งที่เรากำลังจะมอบให้กับลูกค้ากับคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจ
- การออกแบบหรือปรับปรุงคุณค่าที่อยู่ในผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างไรเพื่อสร้างความแตกต่าง
- วิธีการสื่อสารในเรื่องราวของคุณค่ากับกลุ่มลูกค้าของเรา
นอกจากเนื้อหาวิชาการแล้ว ในบทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากวิทยากรพิเศษจากภาคธุรกิจ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ไปจนถึง Startup ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาประกอบไปด้วย
1. อภัยภูเบศร
2. Blind Experience
3. บริษัท ไอ.พี. วัน จำกัด