Space Technology for Business Innovation

Space Technology for Business Innovation

เทคโนโลยีด้านอวกาศ (Space Technology) เป็นเรื่องสำคัญสำหรับประเทศไทย ที่จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศในทุกๆ มิติ สถาบันวิทยาการนวัตกรรม จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านอวกาศ (Space Economy) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน เพิ่มโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ โอกาสทางธุรกิจ สามารถสร้างโอกาสสร้างรายได้ให้กับประเทศ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาหลักสูตร "SpaceTech for Business Innovation เทคโนโลยีอวกาศสำหรับธุรกิจนวัตกรรม" ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญและโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการลงทุนในธุรกิจด้านอวกาศ โดยจะนำเสนอเนื้อหาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โอกาศทางธุรกิจ การสร้างองค์ความรู้ ไปจนถึงการประยุกต์สู่การทำธุรกิจ และการสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน ซึ่งสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้

  • Intro to Space Technology and Opportunity
    ความเป็นมาของการพัฒนา
เทคโนโลยีอวกาศ และโอกาสที่จะเกิด
  • Space Application
    การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศในด้านต่างๆ
  • Space Industry & Case Study
    อุตสาหกรรมอวกาศประกอบด้วยอะไร และตัวอย่างธุรกิจในประเทศไทย
  • New Space Economy
    Old Space และ New Space คืออะไร และผลกระทบที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
  • New Space Ecosystem
    การพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอวกาศยุคใหม่ และเช็คลิสต์ความพร้อมก่อนจะเริ่มธุรกิจ
  • Space Capacity Building
    การเตรียมความพร้อมแก่องค์กร
ก่อนที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมอวกาศ
  • Deep Spacetech Entrepreneurial
    การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นผู้ประกอบการด้าน Deep Technology

โดยหลักสูตรนี้ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่อยู่ใน "ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย Thai Space Consortium" ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย (INSTED) นอกจากนั้นยังมีองค์กรเอกชนที่มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้เป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็น บริษัท ไทยคม จำกัด, บริษัท HG Robotics และ บริษัท แมพพ้อยท์เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

เนื้อหาคอร์ส
1. Course Introduction : แนะนำข้อมูลและความสำคัญของหลักสูตร
04:03
โดย ดร.พงศธร สายสุจริต ผู้ออกแบบหลักสูตร
แนะนำเนื้อหาการเรียนรู้ภายในหลักสูตร ความสำคัญและสิ่งที่จะได้รับจากแต่ละบทเรียน
2. Intro to Space Technology and Opportunity : ความเป็นมาของการพัฒนา
เทคโนโลยีอวกาศ และโอกาสที่จะเกิด
16:42
โดย ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านอวกาศ ผู้ซึ่งเป็นคนผลักดันสำคัญให้เกิด "ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย Thai Space Consortium"
บทเรียนนี้จะพูดถึงความเป็นมาของเทคโนโลยีอวกาศ มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและมีเทคโนโลยีอะไรบ้างที่ถูกพัฒนาตลอดเวลาที่ผ่านมา และสิ่งที่จะถูกพัฒนาในอนาคต ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและมุมมองของชาติมหาอำนาจที่มีต่อการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสและประโยชน์ต่อมนุษยชาติที่จะเกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าที่จะเกิดขึ้นจากธุรกิจที่ลงทุนทั้งในส่วนต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ซึ่งธุรกิจที่จะเกิดนั้นมีความหลากหลายและใกล้ตัวเรามากขึ้น ไม่จำกัดอยู่แค่ภาครัฐอีกต่อไป แต่เป็นโอกาสสำหรับภาคเอกชน ภาคธุรกิจ สตาร์ทอัพมากยิ่งขึ้น
3. Space Application : การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศในด้านต่างๆ
11:08
โดย มล.ศักดิ์สิริ กฤดากร
ผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าเจ้าหน้าที่เทคนิค บริษัท แมพพ้อยท์เอเซีย (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) บริษัทสัญชาติไทยที่ดำเนินธุรกิจอยู่ใน Space Industry มาเป็นเวลานาน
บทเรียนนี้จะพูดถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ เพราะเมื่อเราพูดถึงอวกาศเราจะนึกว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆมันเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก มีอะไรหลายอย่างรอบตัวเราที่ใช้เทคโนโลยีอวกาศโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นเพื่อให้มองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจจากอวกาศ การเรียนรู้ประโยชน์ที่เราจะได้จากเทคโนโลยีนี้มีอะไรบ้างจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ
นอกจากนี้เราจะได้ทำความรู้จักคำว่า Upstream และ Downstream ของคำว่า Space Industry และ Space Economy มูลค่าของอุตสาหกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่จะส่งผลให้เกิดโอกาสในการทำธุรกิจที่ง่ายขึ้น Application ต่างๆที่เกิดขึ้นตลอดทางที่เทคโนโลยีอวกาศได้ถูกพัฒนาขึ้น เป็นการให้ตัวอย่างและแนวโน้มในการสร้างธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ที่กำลังเกิดขึ้น พร้อม Case Study โดยเฉพาะในเรื่อง Remote Sensing
4. Space Industry & Case Study : อุตสาหกรรมอวกาศประกอบด้วยอะไร และตัวอย่างธุรกิจในประเทศไทย
11:38
โดย คุณ เอกชัย ภัคดุรงค์
Head of Regulation Affair, บริษัท ไทยคม จำกัด
บทเรียนนี้จะตอบคำถามว่าในอดีตประเทศไทยเคยมีอุตสาหกรรมอวกาศหรือไม่และ Trends ในประเทศไทยต่อไปจะเป็นอย่างไรเปรียบเทียบกับ Ecosystem ในระดับโลก
พร้อมทั้งทำความรู้จักกับ Player และธุรกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและกำลังจะเกิดขึ้นในไม่กี่ปีที่อยู่ในอุตสาหกรรมอวกาศไทย โดยแบ่งกลุ่มตามประเภทของบริการ 4 ประเภท ประกอบด้วย Space, Air, Ground และ Maritime พร้อมทั้ง Case Study ของธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดขึ้นระหว่างทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศซึ่งจะเป็นโอกาสในการทำธุรกิจต่อไป
5. New Space Economy : Old Space และ New Space คืออะไร และผลกระทบที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
13:23
โดย พ.อ. ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร , รองประธานคณะกรรมาธิการสื่อสารโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร อดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และอดีตประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)
ทำความรู้จักกับคำว่า “เศรษฐกิจอวกาศใหม่ New Space Economy” โดยจะนำเสนอให้เห็นวิวัฒนาการตั้งแต่ Old Space Economy มาจนถึงปัจจุบัน และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมาไปจนถึงอนาคตอันใกล้ นอกจากนี้ยังนำเสนอ Case Study ของธุรกิจที่เกิดขึ้นใน New Space รวมไปถึง Trends ใหม่ๆของการทำธุรกิจแอห่งอนาคต และตอบคำถามสำคัญถึงสัดส่วนที่จะเกิดขึ้นระหว่าง Old และ New Space ในอนาคต สะท้อนให้เห็นบทบาทและสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่จะเปลี่ยนไปจากธุจกิจใหม่ๆที่กำลังเข้าสู่ New Space Economy
บทเรียนนี้ยังนำเสนอให้เห็นตัวอย่างของธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เพื่อต่อยอดให้แก่ผู้เข้าอบรมให้มองเห็นโอกาสใหม่ๆจาก New Space Economy และทำให้เห็นว่าการที่จะเริ่มเข้าสู่ธุรกิจนี้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
6. Space Capacity Building : การเตรียมความพร้อมแก่องค์กร
ก่อนที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมอวกาศ
11:32
โดย ดร.พงศธร สายสุจริต
รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (INSTED) ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)
ในหัวข้อนี้จะได้เรียนรู้เรื่องการสร้างศักยภาพให้แก่องค์กรและบุคลากร เพื่อที่จะสามารถผลักดันเทคโนโลยีเข้าสู่อุตสาหกรรมอวกาศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งจุดสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีคือการสร้างคนไม่ใช่เครื่องจักร
บทเรียนนี้จะพาให้คุณทำความเข้าใจกระบวนการในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของหลายหน่วยงานทั้งประเทศมหาอำนาจ ไปจนถึงบริษัทเอกชนทั้งขนาดใหญ่และเล็ก เพื่อชี้แนวทางในการสร้างแผนการพัฒนาธุรกิจต่อไป ตลอดจนการไฮไลต์ให้เห็น Key point ของธุรกิจนี้ที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมอวกาศ
7. New Space Ecosystem : การพัฒนาเทคโนโลยี สำหรับอวกาศยุคใหม่
18:47
โดย ดร.มหิศร ว่องผาติ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, HG Robotics Co.,Ltd.
การมองธุรกิจในแง่มุมของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศในระดับโลก นำมาเปรียบเทียบกับแนวทางในการทำธุจกิจในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น SMEs, Startup ไปจนถึง IDE หรือ Innovation-Driven Innovation แสดงให้เห็นความแตกต่างและปัจจัยสู่ความสำเร็จ
พร้อมแนะแนวทางการปรับใช้นวัตกรรมสู่การสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เป็นเช็คลิสต์ที่สามาถนำไปใช้เพื่อตรวจสอบความพร้อมก่อนที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ นำเสนอในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในอุตสาหกรรมจริง
8. Deep Spacetech Entrepreneurial การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นผู้ประกอบการด้าน Deep Technology
12:51
โดย ดร.นิมิต นิพัทธ์ธรรมกุล
ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
บทเรียนนี้จะนำเสนอเรื่องการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศโดยใช้ Deep Technology โดยจะเริ่มต้นจากการเรียนรู้มุมมองของคำว่านวัตกรรม ทั้ง 3 มุมมอง เพื่อประยุกต์แนวคิดสู่การทำธุรกิจที่ประกอบด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีเชิงลึก แผนธุรกิจ แผนการเงิน ตลอดจนความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างคุณค่าที่ตอบโจทย์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม จากนั้นจึงทำความเข้าใจองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดและตัวชี้วัดความเป็น Deep Technology หรือเทคโนโลยีเชิงลึก
เพิ่มความเข้าใจจากตัวอย่างการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในภาคธุรกิจ เพื่อให้เห็นภาพของการนำนวัตกรรมมาสร้างธุรกิจให้เกิดคุณค่าและประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ปิดท้ายด้วยเทคนิคและเครื่องมือในการสร้างธุรกิจ Startup เบื้องต้นที่คุณจะต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างเป็น Business Model ที่สมบูรณ์
และสำหรับผู้ที่สนใจในการเริ่มต้นทำธุรกิจ Startup ด้านอวกาศ ในท้ายของบทเรียนจะมีการแนะนำกลไกการสนับสนุนต่างๆที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้จัดเตรียมไว้รองรับ การเติบโตของอุตสาหกรรมนี้และพร้อมที่จะผลักดันให้เกิด Ecosystem ที่สมบูรณ์ต่อไป
9. Spacetech Business & Case Study ตัวอย่างธุรกิจที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ
09:37
โดย ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์
ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (10 S-Curve) เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคตของประเทศ (New Engine of Growth) เพื่อที่จะไปถึงจุดนั้น การเรียนรู้ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากอุตสาหกรรมนี้ โดยหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอวกาศอย่าง GISTDA จะทำให้เราเข้าใจแนวทางการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้กลายเป็นธุรกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม
พร้อมเรียนรู้จากตัวอย่างธุรกิจจริงที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทยทั้งขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก และจากภาครัฐและเอกชน
10. แบบประเมินหลังการเรียน
01:12
ผู้ผ่านหลักสูตรสามารถดาวน์โหลดเอกสารเฉลยข้อสอบได้จากบทเรียนนี้ หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการประเมินคุณภาพของบทเรียนและระบบการใช้งาน ซึ่งความเห็นของคุณจะช่วยในการพัฒนา NIA Academy MOOCs ต่อไป และในตอนท้ายของแบบทดสอบจะเป็นแบบฟอร์มเพื่อขอใบประกาศนียบัตรออนไลน์ (Online Certificate) ออกให้โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
เนื้อหาทั้งหมด 10 วิดีโอ รวม 01 ชั่วโมง 50 นาที
หลักสูตรการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) ที่จะพาคุณไปทำความรู้จักกับอุตหกรรมแห่งอนาคตที่จะสร้างมูลค่ามากมายให้แก่ประเทศ นำเสนอเพื่อสร้างความตระหนักและมองเห็นโอกาสในอุตสาหกรรมอวกาศนี้ นำเสนอโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้ง 7 ท่าน จากองค์กรภาครัฐและเอกชน
ฟรี
ผู้สอน
NIA ร่วมกับ สถาบัน INSTED

ดร.พงศธร สายสุจริต

รักษาการผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (INSTED) ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.)

ดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

พ.อ. ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร , รองประธานคณะกรรมาธิการสื่อสารโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร

มล.ศักดิ์สิริ กฤดากร

Chief Technical Office บริษัท แมพพ้อยท์เอเซีย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

เอกชัย ภัคดุรงค์

Head of Regulation Affair, บริษัท ไทยคม จำกัด

ดร.มหิศร ว่องผาติ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, HG Robotics Co.,Ltd.

ดร.นิมิต นิพัทธ์ธรรมกุล

ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์

ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

รีวิว
NIA MOOCs Tech Support