Intro to Startup

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเบื้องต้น จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือเทคโนโลยีรายใหม่ (Startup) ซึ่งจะประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องความหมายของคำว่า Startup, สินค้าและบริการ, การค้นหาไอเดียทำเงิน, อยากเป็น Startup ต้องเริ่มต้นตรงไหน ต้องทำอะไรบ้าง, แหล่งเงินทุนของ Startup การดีไซน์ที่ดีต้องทำอย่างไร, การทำการตลาดให้ปัง, พรีเซนต์อย่างไรให้มีคนมาลงทุน, Startup Case Studies และ ตัวช่วยต่างๆในการเริ่มต้นธูรกิจ Startup โดยเฉพาะจากภาครัฐ รวมเป็น 10 หัวข้อใหญ่ ซึ่งแต่ละหัวข้อจะประกอบด้วยวีดีโอสื่อการสอน 10 ตอน รวมเป็นจำนวน 50 ตอน สอนโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Startup แนวหน้าของประเทศไทย ที่เป็นส่วนสำคัญในการผลักดัน Startup Thailand ถึง 10 ท่าน ประกอบไปด้วย

พรทิพย์ กองชุน

COO Jitta, สตาร์ทอัพ WealthTech แรกของไทยที่ได้รับอนุญาตบริหารจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์

CEO บริษัท อุ๊คบี จำกัด, แอพพลิเคชั่น Ookbee ร้านหนังสือออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล

Design Thinking Expert , CEO / Co-founder LUKKID Co., Ltd. และ Asian Leadership Academy

ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์

Chief Advisor for Future Foresight and Innovation, Future Tales Lab, MQDC

ธนพงษ์ ณ ระนอง

กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด

อรนุช เลิศสุวรรณกิจ

CEO & Co-founder Techsauce Media, Startup ไทย เชี่ยวชาญการผลิตคอนเทนต์เพื่อวงการ Tech ในโลกธุรกิจ ครอบคลุมทั้งในไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงเป็นรายแรกผู้จัดงาน Tech Conference เชื่อมต่อคนเอเชียและคนทั่วโลก

กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล

User Experience Specialist / CEO Mojito Technology Co., Ltd. บริษัท Startup ที่ให้บริการครบวงจรในการทำ Chatbot สำหรับองค์กรใหญ่เพื่อทำให้ CRM มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ไผท ผดุงถิ่น

CEO Builk One Group, Startup ที่มีเป้าหมายในปฏิวัติวงการก่อสร้างด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ โดยนำ องค์ความรู้นวัตกรรม เทคโนโลยี และไอเดียใหม่ๆ มาใส่วงการก่อสร้าง

กิตติชัย พิพัฒน์บุณยารัตน์

กรรมการ / ผู้ก่อตั้ง บริษัท อริสโท โปรดักชั่น จำกัด, ผู้ร่วมผลักดันระบบนิเวศ Tech Startup และชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ในเชียงใหม่

เนื้อหาคอร์ส
1. STARTUP คืออะไร [พรทิพย์ กองชุน , Jitta]
03:30
Startup คืออะไร คือเป็นกิจการเริ่มต้นจากธุรกิจเล็ก และเติบโตได้อยากรวดเร็ว ก้าวกระโดด ต้องสามารถทำซ้ำได้ ขยายได้ อย่างรวดเร็ว ต้องมีเทคโนโลยี มาช่วยขับเคลื่อนขยายในการเติมโต และทำซ้ำได้ เหมาะกับการมองหาโอกาสในการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ สามารถขยายการบริการได้มากขึ้น ทั่วประเทศ หรือทั่วโลก สามารถผลักดันให้เกิดการเติบโต อย่างก้าวกระโดด(growth) ด้วยการทำซ้ำหรือการขยายตลาดให้ครอบคลุมด้วยเทคโนโลยี Startup = Growth
2. STARTUP กับ SME ต่างกันอย่างไร [พรทิพย์ กองชุน , Jitta]
03:24
Startup กับ SME ในแง่การเติบโตของธุรกิจ ธุรกิจ SME ในการหาเงินทุน จะดำเนินไปแบบสม่ำเสมอ และคงที่ การขยายกำลังผลิตต้องมีคนมาช่วย ทำให้ เพิ่มต้นทุน แต่ Startup จะนำเทคโนโลยี เข้ามาขับเคลื่อน ช่วยให้ต้นทุนต่ำ โดยไม่ต้องมีพนักงานหรือผู้คนมาทำงานจำนวนมาก สามารถขยายสาขาได้รวดเร็ว สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดมากกว่า ด้านเงินทุน SME อาจต้องเอาเงินส่วนตัว หรือกู้ยืม แต่Startup ไม่ต้องมีเงินทุนก็ได้ แต่ต้องมีไอเดียที่ดี วิสัยทัศที่ดี และเอาไปเสนอกับนักลงทุน เพื่อให้เค้าเชื่อมั่นว่าเราจะพัฒนาธุรกิจไปอย่างก้าวกระโดดได้ เค้าจะนำเงินมาสนับสนุน ทั้งคู่ต้องมี Entrepreneur ความเป็นผู้ประกอบการ
3. STARTUP ต้องรู้จัก "Exponential Growth" [พรทิพย์ กองชุน , Jitta]
03:22
Startup ต้องรู้จัก Exponential Growth คือ การเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเป็นกราฟ ในรูปแบบของ S Curve เน้นไปที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำให้ไอเดียเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบให้ได้ ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ให้มากที่สุด และถ้าพัฒนาจนตอบโจทย์กับผู้บริโภคได้ ก็จะเพิ่ม Exponential Growth แบบก้าวกระโดด
4. STAGE ของ STARTUP [พรทิพย์ กองชุน , Jitta]
03:02
Stage ของ Startup มี 3 ระดับ
- Problem Solution Fit : สร้างไอเดีย เอาไอเดียมาเป็นผลิตภัณฑ์ให้ได้ การเปลี่ยนจากไอเดียมาเป็นผลิตภัณฑ์ อาจเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบก่อน
- Product Market Fit จะเริ่มเป็นรูปร่าง พร้อมออกสู่ตลาด ในตลาดกลุ่มเล็กๆ จะให้ใช้งาน และให้ลูกค้ามา Feedback และเอาไปปรับปรุง เพื่อทำให้สินค้าหรือบริการติดตลาด เป็นรูปร่างมากขึ้น
- Business Market Fit พอสินค้าหรือบริการติดตลาดแล้ว ก็ขยายตลาด ไปที่ใหม่ๆ
5. STARTUP FUNDING แต่ละระดับ [พรทิพย์ กองชุน , Jitta]
03:31
เป้าหมายสูงสุดของ Stratup คือการได้ Exit คือมีคนมาซื้อกิจการ หรือ IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ โดยต้องการระดมเงินทุน โดยระดมทุนมี 4 ระดับ
- Pre-seed มีไอเดีย ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมา เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เรียกว่า MVP หรือ Phototype 600,000 - 1.5 ล้านบาท
- Seed Funding หรือ Pre-series 3 - 100 ล้านบาท
- Series A 35 - 500 ล้านบาท
- Series B / C เงินทุน 65 ล้านบาทขึ้นไป เป็นระดับที่ขยายไปทั่วโลก
6. ไอเดียทำเงิน [ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์, Ookbee]
02:00
ไอเดียในการทำสตาร์ทอัพ ส่วนใหญ่เกิดจาก “ปัญหา” ที่ประสบกันในชีวิตประจำวัน ซึ่งไอเดียต่างๆ จำเป็น ต้องเข้ามาแก้ปัญหาที่ใหญ่พอ มี Business Model และมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ยกตัวอย่าง Ookbee จากเดิมเป็นร้านหนังสือ e-book เมื่อธุรกิจสิ่งพิมพ์เริ่มเกิดปัญหาต้นทุนสูง จึงหาวิธีด้วยการสร้าง application ให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้ในราคาที่ถูก จากนั้น ก็ขยายไอเดียต่อด้วยการแตกเป็นร้านการ์ตูน หรือธุรกิจดนตรีได้ด้วย จะเห็นได้ว่า นอกจากจะเป็น “ไอเดียใหญ่” แก้ไขปัญหาได้ ยังสามารถขยายไลน์ต่อไปเป็นไอเดียใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสตาร์ทอัพตัวเดิมหรือตัวใหม่ก็ได้
7. Startup ต้องมี Passion [ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์, Ookbee]
03:03
สิ่งสำคัญของธุรกิจสตาร์ทอัพในการที่จะประสบความสำเร็จ คือ Passion ของผู้ประกอบการ คุณสมบัติของผู้ประกอบการ (Founder) คือ
1. มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า (Passion)
2. มีความคิดสร้างสรรค์
3. มีความเป็นนักกลยุทธ์
4. มีความเป็นผู้นำและกล้าตัดสินใจ
5. มีความกล้าเสี่ยง
8. Startup ต้องมีทีม [ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์, Ookbee]
02:20
Startup ประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ทีมธุรกิจ (Business Team)
2. ทีมที่ดูแลด้านเทคโนโลยี (Programmer)
3. ทีมออกแบบ (Design)
ในระยะยาวบริษัทต้องขยายตัว (scale) โดยการหาทีมมาร่วมงาน ซึ่งหน้าที่ของ Founder คือ การจัดสรรให้ทุกฝ่ายมารวมกันและวางทิศทางบริษัท (Set Direction) รวมถึง การหาเงินทุนเพื่อให้ทีมสามารถเดินต่อไปได้
9. มีความรู้และมี Network [ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์, Ookbee]
02:35
Network คือ เครือข่ายคนรู้จัก เพื่อประโยชน์ในการขอความช่วยเหลือกันและแชร์ความคิดเห็นต่าง ๆ การทำสตาร์ทอัพ ต้องมี Network อะไรบ้าง
1. Founder Network
2. Investor Network
3. Association Network
10. Startup Ecosystem มีอะไรบ้าง [ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์, Ookbee]
03:30
Startup Ecosystem คือ ระบบนิเวศของ Startup ซึ่งประกอบไปด้วยหลาย ๆ หน่วย เช่น
1. Startups
2. นักลงทุน (Venture Capitals)
3. สื่อ (Media)
4. Co-working Space
5. โรงเรียนสอนสตาร์ทอัพ (Academy / Incubator / Accelerator)
6. รัฐบาล (Government)
11. เห็นปัญหา = เห็นโอกาส [เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล, LUKKID]
02:47
หลักการสำคัญในการค้นหาไอเดียธุรกิจทำเงิน คือ การสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ปัญหาของลูกค้า หรือที่เรียกกันว่า Pain Point โดยการเข้าใจลูกค้าในเชิงลึก (Customer Insight) เพื่อเปลี่ยน “ปัญหา” เป็น “โอกาส” ด้วยคำถาม How might we….? เป็นรูปแบบคำถามให้ฉุกคิด เพื่อเกิดไอเดียในการแก้ปัญหา การมองปัญหาให้เป็นโอกาส จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างธุรกิจไอเดียของสตาร์ทอัพที่สามารถทำเงินได้
12. เทคนิคการหาไอเดีย [เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล, LUKKID]
03:07
กระบวนการเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นกระบวนการที่ช่วยหาไอเดีย และสร้างต้นแบบไอเดียมาทดลอง ซึ่ง Design Thinking มี 3 ระดับ คือ
- เข้าใจปัญหาลูกค้า
- คิดระดมสมอง โดยเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ
- สร้างต้นแบบ (Prototype)
ส่วนการขยายธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น (Growth Hacking) คือ การปรับวิธีการให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้ามากขึ้น Design Thinking จึงสามารถใช้ได้กับกระบวนการหาธุรกิจใหม่ ๆ รวมถึงการเติบโตของธุรกิจ
13. ลองทำ Prototype [เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล, LUKKID]
03:36
Prototype คือ การเปลี่ยนไอเดียให้จับต้องได้มากขึ้น หลักการสร้าง Prototype ประกอบด้วยแนวคิด 3 แบบ คือ
1. คิดเร็ว ทำเร็ว (Fail Fast) 
2. ใช้ทรัพยากรไม่เยอะ  (Fail Cheap)
3. รีบคิด รีบปรับต้นแบบ (Fall  Forward)
นอกจากจะนำไปใช้กับธุรกิจที่เป็นผลิตภัณฑ์แล้ว การทำ Prototype ยังสามารถเอาไปใช้กับธุรกิจบริการได้โดยออกแบบให้เป็น Customer Journey  เพื่อใช้เทสต์ไอเดีย ทำให้รู้ว่าตลาดของเราใหญ่มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการสร้าง Prototype ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น เจ็บตัวน้อยลง และลดความเสี่ยง
14. ไอเดียดี ต้องมีตลาดใหญ่พอ [เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล, LUKKID]
02:56
ไอเดียที่ดี ต้องเป็นไอเดียที่มีตลาดใหญ่พอ ประเมินได้จากไอเดียและผลิตภัณฑ์ว่าแก้ปัญหาได้จริงหรือเปล่า คุณค่าและบริการตรงกับความต้องการลูกค้าไหม ซึ่งการเติบโตของ Startup มี 3 ขั้นตอน คือ
• Problem Solution Fit
• Product Market Fit ขั้นตอนนี้สามารถปรับกลยุทธ์ (Pivot) เพื่อให้เกิดตลาดที่ต้องการ
• Business Model Fit
15. The Last Mover คืออะไร [เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล, LUKKID]
02:49
ในวงการสตาร์ทอัพ มีคำว่า The Last Mover Advantage มีประโยชน์ในแง่ ทำให้ได้เรียนรู้ตลาดจากคนที่ออกตลาดไปก่อนหน้าเรา (The First Mover Advantage) ซึ่งการเป็น The Last Mover Advantage ไม่เน้นการออกตัวก่อน แต่เน้นให้ธุรกิจตอบโจทย์ลูกค้าจริง ๆ การปรับตามลูกค้าให้ทันสำคัญกว่าความเร็วในการออกตลาดใน ช่วงจังหวะที่เรายังสร้างบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ตอบโจทย์ลูกค้า ดังนั้นไอเดียที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็น “ไอเดียแรกในตลาด” แต่ต้องเป็น “ไอเดียที่ดีที่สุด” ที่ตอบโจทย์ลูกค้า
16. Business Model Canvas เครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพ [ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์]
03:39
Business Model Canvas คือ เครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพ ทำความเข้าใจใน Pain Point ของลูกค้า การเข้ามาออกแบบโมเดลธุรกิจ จุดเด่นสินค้าบริการของเรามีอะไร ความต้องการ คุณค่าที่เราจะให้มีอะไร เซอร์วิส ให้ลูกค้า ต้องตอบโจทย์ และทำซ้ำได้ในหลายๆพื้นที่ รูปแบบต้องตอบโจทย์ได้ทั้งสองด้าน
17. Startup ต้องมี Unique Selling Point [ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์]
02:39
Startup ต้องมี Unique Selling Point คือ จุดเด่นของสินค้าและบริการ ที่ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อ เลือกใช้ บริการของเรา การให้บริการที่ดี คุณภาพ ที่ลึกซึ้ง ฟีเจอร์ที่หลากหลาย การจัดส่งได้เร็ว รวมไปถึงให้บริการฟรีในช่วงแรก สิ่งที่เรามีคู่แข่งไม่มี หรือต้องใช้เวลานานมากๆ ที่จะมีเหมือนเรา เช่น ลิขสิทธิ์ เป็นต้น จุดเด่นที่ทำให้เค้าเลือกซื้อเรา สิ่งที่ทำให้ผู้ลงทุนรู้ว่าเราเท่านั้นจะเป็นคนจะประสบความสำเร็จสูงสุดในอุตสาหกรรมนี้
18. เริ่มต้นแบบ Lean Startup [ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์]
03:09
กระบวนการที่มองจากลูกค้าเป็นตัวตั้ง เมื่อลงทุนไปแล้วว่าจะได้ผลชัวร์จริงๆ การสร้างในแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องสร้าง 100% สร้างไปด้วย เรียนรู้ไปด้วย เป็นทั้งแนวคิดกระบวนการที่จะทำให้ตอบโจทย์ ความต้องการของลูกค้าได้เร็วขึ้น แล้วใช้ทรัพยากรน้อยลง โดยผ่านการเรียนรู้ต่อเนื่องของสินค้าและบริการของเรา
19. พัฒนาสินค้าและบริการด้วยหลัก Agile [ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์]
03:22
พัฒนาสินค้าและบริการด้วยหลัก Agile Methodology การคิดร่วมกัน เน้นความรวดเร็วและความยืดหยุ่น การเรียนรู้อย่างรวดเร็วและปรับปรุงอย่างรวดเร็ว เน้นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นไซเคิล ทำงานเป็นทีม เป็น self – Management การทำงานที่ได้ผลที่ดี และได้ผลในระยะเวลาอันสั้น หาจุดผิดพลาด เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มที่เน้นความสำเร็จระยะสั้นร่วมกัน และประโยชน์ระยะสั้นร่วมกัน และแก้ไขได้รวดเร็ว ทุกคนสามารถทำงานร่วมกัน และมีความรับผิดชอบเต็มที่เพื่อที่ให้ผลรวดเร็วและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน เพื่อที่จะไม่ให้ใช้ทรัพยากรมากเกินความจำเป็น
20. รูปแบบธุรกิจที่นักลงทุนสนใจ [ธนพงษ์ ณ ระนอง, Beacon venture]
03:03
5 ข้อมูลหลักที่นักลงทุนอยากรู้จาก Startup
1. ความน่าสนใจของผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการมี Traction อย่างไร เช่น มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมากน้อยแค่ไหน หรือสร้างรายได้เท่าไหร่
2. ขนาดของตลาด ธุรกิจของกลุ่ม Startup มีมูลค่า และสร้างรายได้เท่าไหร่จากตลาด
3. แผนการขยายตัวของธุรกิจ Startup ควรชี้แจงแผนการเติบโตที่ชัดเจน
4. ข้อแตกต่างจากคู่แข่ง มีข้อได้เปรียบกว่าสินค้าคู่แข่งอย่างไร
5. ความรู้ ความสามารถของทีมและผู้ก่อตั้ง
21. แผนการเงิน [ธนพงษ์ ณ ระนอง, Beacon venture]
02:13
Startup ต้องมีโครงสร้างรายได้ (Revenue Model) มานำเสนอ และบอกให้ได้ว่าอะไรคือ Key Driver ของโครงสร้าง เช่น ดูจากปริมาณ (Quantity) หรือจากราคา (Price) รวมถึง การแสดงค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ (Cost Model) มีโครงสร้างรายได้แสดงข้อมูลจริงของ 2-3 ปีแรกว่าเป็นอย่างไร และประมาณการรายได้ 2-3 ปีต่อมาโดยตั้งสมมติฐานอยู่บนความเป็นไปได้ ถ้าสตาร์ทอัพเข้าใจธุรกิจตัวเองดี ก็จะทำให้ทำแผนการเงินได้ดีเช่นกัน
22. ทำความรู้จักแหล่งเงินทุนต่าง ๆ [ธนพงษ์ ณ ระนอง, Beacon venture]
04:13
แหล่งเงินทุนสำหรับสตาร์ทอัพ แบ่งได้ตามระดับ Stage ต่าง ๆ ดังนี้
แหล่งเงินทุนที่มาจากคนใกล้ชิด หรือเป็นเงินทุนส่วนตัวของตนเอง (Bootstrapping) หรือการไปนำเสนอไอเดียผ่านการ Pitching โดยจะได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐ
เมื่อธุรกิจเริ่มสร้าง MVP Product ขึ้นมาทดลองใช้งาน สามารถหาแหล่งเงินทุนในรูปแบบที่เรียกว่า การเข้าร่วม Accelerator ต่างๆ โดยเข้าไปแข่งขันกับทีมอื่นเพื่อขอรับเงินสนับสนุน หากสินค้าหรือบริการมีไอเดียและเป็นที่น่าสนใจ จะมีกลุ่มนักลงทุนที่เรียกว่า Angel Investor เข้ามาให้เงินทุนสนับสนุน เพื่อมาลงทุนในสตาร์ทอัพกลุ่มนั้น ๆ ต่อไป
Stage 3 : Expansion Stage หรือ Growth Stage เป็นระดับที่สตาร์ทอัพมีการขยายบริษัทให้มีความสามารถสูงขึ้น นักลงทุนที่เข้ามาร่วมลงทุน stage นี้ เรียกว่า Venture Capital
Stage 4 : Exit Stage หลังจากผ่าน Growth stage ได้ดี จนมาถึง Exit stage คือ การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้แล้ว สถานะจะเปลี่ยนไปจากสตาร์ทอัพ กลายเป็นบริษัทมหาชน
23. หาเงินทุนด้วย Crowdfunding [ธนพงษ์ ณ ระนอง, Beacon venture]
02:41
Crowdfunding คือ รูปแบบการระดมทุนจากคนจำนวนมาก เพื่อสนันสนุนไอเดียใหม่ ๆ ให้เกิดเป็นธุรกิจได้จริง โดยมี 4 รูปแบบ
1. Donation Crowdfunding เป็นการเชิญชวนให้คนมาร่วมลงทุน โดยไม่ได้ผลตอบแทน
2. Reward Crowdfunding โครงการช่วยระดมทุนโดยแลกเปลี่ยนกับการให้ “สิทธิประโยชน์”
3. Debt Crowdfunding หรือที่เรียกว่า Peer-to-Peer Lending เป็นลักษณะเงินกู้ ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายมารองรับ
4. Equity Crowdfunding เป็นการระดมทุนโดยนักลงทุนจะได้หุ้นของทางบริษัทเป็นการแลกเปลี่ยน พร้อมโอกาสในการได้รับเงินปันผล
24. Venture Capital แตกต่างจากนักลงทุนทั่วไป [ธนพงษ์ ณ ระนอง, Beacon venture]
02:57
Venture Capital แตกต่างจากนักลงทุนทั่วไป ตรงที่เป็นนักลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนใหญ่จัดเป็นรูปแบบกองทุนเข้าไปลงทุนในบริษัทที่มีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง อย่างเช่น กลุ่มธุรกิจ Startup เป็นต้น โดยเข้าถือหุ้นในสัดส่วนเพียง 20-30% เมื่อผ่านไป 3-5 ปี จึงถอนการลงทุน
หน้าที่ของ Venture Capital คือ เข้าไปช่วยดูแลด้านการบริหารการตลาด แต่ไม่เข้าไปยุ่งกับระบบการทำงาน และเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้บริษัทมีการเติบโตที่สูงขึ้น ปัจจุบันในประเทศไทยมี Venture Capital ที่มาจากองค์กรใหญ่เพิ่มมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่า Corporate Venture Capital ข้อดีของ Corporate Venture Capital คือ ไม่ได้ให้การสนับสนุนเงินทุนเพียงอย่างเดียว แต่ให้การสนับสนุนโดยการให้สตาร์ทอัพเข้าถึงฐานลูกค้าขององค์กรนั้น ๆ ได้ด้วย
25. วางแผน Monopoly [อรนุช เลิศสุวรรณกิจ, Techsauce]
02:37
Monopoly คือ การครอบครองตลาด โดยในมุมของสตาร์ทอัพ เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่คนอื่นตามไม่ทัน ซึ่งคุณลักษณะ 4 อย่างของ Monopoly ตามแบบฉบับของ Peter Theil (หนังสือ Zero to One)
1. Proprietary Technology การพัฒนาบริการหรือสินค้า โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เกิดการเติบโตแซงคู่แข่ง 10 เท่า
2. Network Effect ครองตลาดโดยมีลูกค้าประจำ เน้นการจับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ให้ได้
3. Economies of Scale ควบคุมต้นทุนที่จะเกิดขึ้น
4. Branding การสร้างภาพลักษณ์ที่แข็งแรงและชัดเจน
26. Business Model ที่ดี [อรนุช เลิศสุวรรณกิจ, Techsauce]
02:14
Business Model ที่ดี สตาร์ทอัพต้องทำความเข้าใจกับคำว่า LTV หรือ CLV ซึ่ง LTV (Lifetime Value of Customer) และ CLV (Customer Lifetime Value) ทั้งสองคำนี้ หมายถึง คุณค่าในช่วงชีวิตของการเป็นลูกค้าและใช้บริการของคุณ
CAC (Customer Acquisition Cost) ค่าเฉลี่ยของการขายและการตลาดเพื่อให้ได้ลูกค้ามา ดังนั้น รูปแบบ Business Model ที่ดี คือ การมีค่า LTV สูง CAC ต่ำ แสดงให้เห็นว่าลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าและบริการของคุณ
27. จะหา "ลูกค้า" จากไหน [อรนุช เลิศสุวรรณกิจ, Techsauce]
02:09
ช่วงต้นของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ ต้องรู้จัก “ลูกค้า” ของตัวเองก่อนว่า ลูกค้าของคุณจะมีลักษณะแบบไหน โดยการตั้ง Persona (ลูกค้าสมมติ) ด้วยการลงรายละเอียดในเชิงลึกถึงพฤติกรรมความสนใจหรือรายได้ของลูกค้า และหากลุ่ม Early Adopter ที่เป็นกลุ่มที่เห็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการของคุณ ซึ่งจุดสำคัญของสตาร์ทอัพ ที่จะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ เรียกว่า The Chasm เป็นหุบเหวมรณะ เพื่อก้าวไปสู่ตลาดใหญ่
กล่าวโดยสรุป ก็คือ ธุรกิจของเรากำลังแก้ปัญหาให้ใคร คนเหล่านั้นคือ กลุ่มลูกค้าของคุณ
28. AARRR Metrics ตัวชี้วัดการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ [อรนุช เลิศสุวรรณกิจ, Techsauce]
02:39
Startup จำเป็นต้องทำความรู้จัก “จุดวัด” ที่เรียกว่า AARRR Metrics มาจาก
A = Acquisition การหาวิธีการดึงลูกค้าเข้ามา
A = Activation การหาวิธีการให้ลูกค้าใช้งาน
R = Retention การทำให้เกิดลูกค้าประจำ **Churn Rate อัตราที่ผู้ใช้ไหลออกไป ก็คือ การเลิกใช้
R = Revenue รายได้ที่ทำให้ธุรกิจเติบโต
R = Referral การบอกต่อกับเพื่อน
29. การสร้าง Content ที่ดี [อรนุช เลิศสุวรรณกิจ, Techsauce]
02:42
การทำการตลาดในรูปแบบ Startup คือ การทำ Content ดี ๆ บนสื่อหรือโซเชียล ซึ่งการทำ Content ที่ดี โดยการให้ความรู้ต่าง ๆ จะทำให้ลูกค้าสนใจในโปรดักต์ของคุณ ยกตัวอย่าง
ตัวอย่างที่ 1 : สตาร์ทอัพไทย Sellsuki ระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ Sellsuki มีทิปส์และเทคนิคในการแนะนำวิธีสื่อสารกับลูกค้า
ตัวอย่างที่ 2 : ธุรกิจประเภท Recruitment จัดหาคน โดยการเขียน content เชิงการให้คำแนะนำการสัมภาษณ์ / วิธีการเขียน Resume
ดังนั้น สตาร์ทอัพควรทำ Content ที่ดี ไม่ควรเน้นเฉพาะการขายโปรดักต์ แต่ให้เน้นเป็นการให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายของคุณ
30. Corporate Identity คืออะไร [กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล, Mojito Technology]
03:16
Corporate Identity (CI) คือ อัตลักษณ์ขององค์กร จะถูกนำมาแปรเป็น Personality ของแบรนด์ ความสำคัญของ Corporate Identity คือ การมีตัวตนที่ชัดเจน ที่ทำให้คนภายนอกสามารถจดจำเราได้ง่ายขึ้น ด้วย CI ที่ต่างกัน Target Users จะต่างกัน หรือผู้ใช้งานก็จะคนละกลุ่มกัน
Corporate Identity ที่ดี แม้ไม่เห็นโลโก้ แต่เราสามารถนึกถึงแบรนด์นั้นได้ รวมถึง สโลแกนของแบรนด์นั้นๆ ด้วยเช่นกัน สตาร์ทอัพจำเป็นต้องสร้างตัวตนให้ชัดเจน ด้วยการสร้าง Corporate Identity ผ่านโลโก้ (Logo) ฟอนต์ (Font) สี (Color) หรือคำพูดที่ใช้ตามสื่อ (Slogan)
31. Human-Centered Design [กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล, Mojito Technology]
03:05
Human-Centered Design (HCD) เป็นกระบวนการออกแบบที่ยึดผู้ใช้งานของบริการหรือผลิตภัณฑ์ของเราเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ โดยดูว่าผู้ใช้เป็นใคร มีปัญหาอะไร นำมุมมองที่ได้นั้นมาใช้ในการออกแบบ
กระบวนการ Human-Centered Design (HCD) มีอยู่ 3 Keywords คือ สร้าง วัดผล เรียนรู้ซ้ำ แล้ววนลูปทั้งกระบวนการไปเรื่อย ๆ เมื่อเรา Research ผู้ใช้งานมามากพอ การออกแบบและการแก้ไขปัญหาก็จะทำได้ตรงจุดมากขึ้น
32. ดีไซน์กับกลุ่มเป้าหมาย [กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล, Mojito Technology]
03:52
การสร้างประสบการณ์ที่ดี ต้องคำนึงว่าผู้ใช้ของเราคือใคร และเลือกทำ Product ให้ดีกับกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ก่อนอื่นเราต้องหากลุ่มที่จะมาเป็น Early Adopter ของ product เราก่อน ด้วยกระบวนการ UX ที่เรียกว่า Persona (สร้างผู้ใช้เสมือน) ตั้งขึ้นมาเป็นตัวแทนผู้ใช้งานไว้สื่อสารกันในทีม เพื่อวัดผลผู้ใช้งานว่ารู้สึกอย่างไรกับ product ซึ่งข้อมูลมาจากการ survey และ interview เป็นภาพสะท้อนการใช้งาน และนำไปใช้ในการออกแบบให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของเราอย่างแท้จริง
33. UI กับ UX [กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล, Mojito Technology]
03:46
UI (User Interface) คือ ส่วนหน้าจอที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งาน
UX (User Experience) คือ ประสบการณ์การใช้งาน เป็นกระบวนการอ่านใจผู้ใช้งาน
ซึ่งกระบวนการเบื้องหลังที่ทำให้เกิด User Experience ที่ดี มาจากการ Interview, User Research และ Testing
User Experience เกี่ยวพันกับการวาง Concept การกำหนด Scope การวาง Requirement การทำ Research / User Journey การวาด Wireframe การวัดผลและการ Test โดยเกี่ยวข้องกับ 3 ส่วน ประกอบด้วย Business & Art & Science รวมกันได้ UX ที่ดี ดังนั้น รากฐานของเว็บไซต์ที่ดี อยู่ในกระบวนการของ UX ทั้งหมด
34. User Friendly [กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล, Mojito Technology]
04:14
การออกแบบให้ตอบโจทย์ เราต้องรู้ถึงความต้องการของ users ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อที่เราจะสามารถออกแบบแก้ไขโจทย์ที่ลูกค้าพบปัญหานั้นได้ตรงจุดที่สุด คำว่า User Friendly จึงค่อนข้างกว้าง เพราะความแตกต่างกันของ product ตามแต่ละธุรกิจและกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น การออกแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการจึงแตกต่างตามไปด้วย
User Experience Process จำเป็นมากสำหรับสตาร์ทอัพ เราควรทุ่มเวลาทำความเข้าใจผู้ใช้งานให้ลึกซึ้ง จะช่วยลดความสูญเสียด้านเวลาและทรัพยากร การทำความเข้าใจผู้ใช้งานจะทำให้เห็นความชัดเจนของโปรดักต์ของเราได้ดีขึ้น ทุกโปรดักต์มี Core Value แตกต่างกัน ส่วนใหญ่โปรดักต์ที่ประสบความสำเร็จจะยึด Core Value ของตัวเองได้ คือ การทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งสำคัญของโปรดักต์เรามากที่สุด
35. การนำเสนอแผนธุรกิจ (Pitching) : สิ่งที่ไม่ควรทำ [ไผท ผดุงถิ่น, Builk One Group]
02:58
Pitching เป็นการนำเสนอแผนธุรกิจให้กับกลุ่มนักลงทุน โดยใช้เวลาสั้นๆ ในการนำเสนอ โดย5 สิ่งที่ไม่ควรทำในการนำเสนอแผนธุรกิจ (Pitching) คือ
1. ไม่ใช้ศัพท์เทคนิคมากเกินไป
2. ไม่ใช้คำว่า “อาจจะ”
3. ไม่ Live Demo
4. ไม่พูดตามสไลด์ ใช้ภาพแทนการสื่อสาร
5. ไม่ใช้สไลด์เดิม ในการเสนอแผนแต่ละครั้ง
36. การนำเสนอแผนธุรกิจ (Pitching) : สิ่งที่ควรทำ [ไผท ผดุงถิ่น, Builk One Group]
02:13
5 สิ่งที่ควรทำในการนำเสนอแผนธุรกิจ (Pitching)
1. ศึกษาผู้ฟัง
2. เปิดด้วยสิ่งที่น่าสนใจที่สุด
3. อย่าเล่าเป็นหัวข้อ
4. มีความแตกต่างให้น่าจดจำ
5. ซักซ้อมให้เยอะ
37. สิ่งที่นักลงทุนอยากรู้ [ไผท ผดุงถิ่น, Builk One Group]
02:19
เมื่อการ Pitch เข้าตานักลงทุน สิ่งที่นักลงทุนต้องการรู้มากไปกว่านั้น คือ แผนธุรกิจของสตาร์ทอัพแบบกระชับ หรือที่เรียกว่า Pitch Deck และนำไปสู่การเรียกเข้าไปพุดคุยในลำดับถัดไป สตาร์ทอัพจำเป็นต้องบอกเล่าเรื่องราวที่มาที่ไป จุดอ่อนของตัวเอง และแผนการหรือวิธีคิดของตัวคุณเอง เพื่อให้นักลงทุนได้ทราบข้อเท็จจริง และตัดสินใจร่วมลงทุนกับธุรกิจของคุณในระยะยาว
38. ตัวเลขมหัศจรรย์ [ไผท ผดุงถิ่น, Builk One Group]
02:37
ขั้นตอนต่อไปที่นักลงทุนจะขอข้อมูลจากสตาร์ทอัพ ก็คือ Term Sheet (เอกสารเงื่อนไขข้อตกลง) หรือขอดูตัวชี้วัด (Metrics) ต่างๆ ที่สตาร์ทอัพกำลังทำอยู่ เช่น
ถ้าเป็นสตาร์ทอัพเริ่มต้นใหม่ (Early Stage) ตัวชี้วัดที่ควรแจ้งกับนักลงทุน ได้แก่
- Growth Metrics หรือ Financial Metrics
- Actionable Metrics
ทั้งหมดนี้ สตาร์ทอัพต้องนำเสนอต่อนักลงทุนบน Term Sheet เป็นสิ่งที่ต้องตกลงกับนักลงทุนว่า ธุรกิจมีมูลค่าเท่าไหร่และจะเสนอหุ้นให้นักลงทุนกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันดีลถึงจะเกิดขึ้น
39. ลงทุนที่ "คน" [ไผท ผดุงถิ่น, Builk One Group]
02:08
กลยุทธ์การทำสตาร์ทอัพไม่ใช่การมุ่งหานักลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่สตาร์ทอัพสามารถใช้เงินทุนตัวเอง (Bootstrapping) ทำการทดสอบ Business Model และวิธีการทำให้ธุรกิจเติบโตจนมั่นใจก่อน ซึ่งการทำ Startup เป็นเรื่องของจังหวะเวลา เงินลงทุนจะได้ผลลัพธ์เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม โดยที่นักลงทุนจะเชื่อมั่นและลงทุนที่ “คน” นั่นก็คือ Founder โดยดูถึงความมุ่งมั่น และการมี passion กับสิ่งที่ทำ สิ่งนี้เป็นหลักสำคัญสำหรับนักลงทุนในการตัดสินใจร่วมลงทุนด้วย
40. Startup Case Study : PayPal [กิตติชัย พิพัฒน์บุณยารัตน์, APITEL.Co]
02:39
PayPal ถือเป็นสตาร์ทอัพที่ปฏิวัติวงการ FinTech เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา โดยที่ PayPal เข้ามาสร้างระบบการชำระเงินออนไลน์ และจุดสำคัญที่เป็น trigger point ของ PayPal คือ การต่อเชื่อมการซื้อขายบนโลกดิจิตัลกับ ebay ด้วยการเป็นพาร์ทเนอร์กัน  ดังนั้น พันธมิตรทางธุรกิจที่ดี (Strategic Partner) คือ ต้องมีความน่าเชื่อถือ และสามารถเชื่อมธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์เราได้
41. Startup Case Studies : Instagram, Facebook [กิตติชัย พิพัฒน์บุณยารัตน์, APITEL.Co]
03:09
จุดแข็งของ Instagram คือ ความสามารถด้านการถ่ายภาพและใส่ฟิลเตอร์ เมื่อ Instagram มาถึงจุดที่ลูกค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่มี business model จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการหา Funding ให้เก่ง
สำหรับด้าน Facebook นั้นก็ตัดสินใจซื้อ Instagram เพื่อควบรวมกิจการ โดยมีเป้าหมายคือ การขยายฐานผู้ใช้งานให้เพิ่มขึ้นและทำการตลาดบนแพลตฟอร์มนั้นได้ต่อ เมื่อย้อนกลับไปช่วงต้นของ Facebook มีวิธีคิดในการเข้าสู่ตลาดที่แตกต่างและน่าสนใจ (Go-to-Market) โดยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยเป็นลูกค้ากลุ่มแรก สร้างขึ้นเฉพาะกลุ่ม Niche Market เท่านั้น และทำให้คนกลุ่มนี้กลายเป็น Word of Mouth จะเห็นได้ว่าสินค้าหรือบริการของสตาร์ทอัพนั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทุกคน แต่สร้างขึ้นเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง เมื่อลูกค้าเกิดความรักในตัวแบรนด์สินค้า จึงทำให้เกิด Early Adopter ที่จะบอกต่อและขยายสินค้าของเราได้อย่างรวดเร็ว
42. Startup Case Studies : Uber, Airbnb [กิตติชัย พิพัฒน์บุณยารัตน์, APITEL.Co]
03:00
จุดเริ่มต้นของ Uber มาจากปัญหาการเรียก Taxi จึงทำให้เกิด mobile app นี้ขึ้นมา
ความท้าทายของ Uber คือ ต้องบริหารจัดการเรื่องคนขับและผู้โดยสารให้จำนวนเหมาะสมกัน โดยใช้เทคนิคบนซอฟต์แวร์เข้ามาช่วย เช่น การจัดทำ Rating การทำ Dynamic Pricing Model
ส่วนกรณีศึกษาของ airbnb เป็นสตาร์ทอัพการแบ่งปันที่พัก ถูกสร้างขึ้นมาจากการเปิดให้คนอื่นเข้ามาเช่าที่พักของตน โดยเริ่มต้นการทำ MVP (Minimum Viable Product) จากทรัพยากร (ที่พัก) ที่มีอยู่แล้ว ถือว่า Airbnb เข้ามาเปลี่ยนบทบาทการใช้ชีวิตของคนเรามากขึ้น จากเดิมนักท่องเที่ยวมักหาที่พักตามโรงแรม แต่ในปัจจุบันมีความต้องการเช่าบ้านพักกับคนในท้องถิ่นนั้นๆมากกว่า ด้วยการขายประสบการณ์ (Experience) ของแต่ละเมืองหรือสถานที่นั้นๆ ให้กับผู้ใช้งาน
43. Startup Case Study : Wongnai [กิตติชัย พิพัฒน์บุณยารัตน์, APITEL.Co]
02:49
Wongnai เป็นเว็บไซต์และแอปพลิเคชันค้นหาและรีวิวร้านอาหาร บิวตี้ และสปาอันดับ 1 ของไทย สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสำหรับคนที่ชอบหาร้านอาหารอร่อยทาน โดยใช้โมเดลจากแอปต่างประเทศมาปรับใช้กับเมืองไทย เรียกว่า การทำกลยุทธ์ปรับตามรูปแบบท้องถิ่นนั้นๆ (Localization) สร้างกลุ่ม Power Users Group ให้ผู้ใช้เข้ามาทำการรีวิว และให้ Ranking กัน
อีกส่วนคือ การทำ Personalization ออกแบบ UX UI ให้เข้าถึงผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด เพื่อเลือกส่งเฉพาะคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องไปยังผู้ใช้งานแต่ละคน Business Model สำคัญของ Wongnai คือ การให้ร้านค้าและร้านอาหารมาลงโฆษณา มีโปรโมชั่นที่ร้านค้าจะได้ประโยชน์ และดึงดูดใจผู้บริโภค
44. Startup Case Studies : Jitta, iTAX [กิตติชัย พิพัฒน์บุณยารัตน์, APITEL.Co]
03:13
Jitta เป็นสตาร์ทอัพในกลุ่ม FinTech ที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เป็นแพลตฟอร์มการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ช่วยแก้ปัญหาในการวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัว ซึ่งจะมี Jitta Line และ Jitta Score เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกลงทุน
iTAX เป็นเครื่องมือบริหารจัดการภาษี ช่วยคำนวณภาษีและวางแผนเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกันชีวิต ซื้อกองทุน LTF/RMF ซึ่งโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับสตาร์ทอัพ คือ การทำ Lead Generation พากลุ่มผู้ที่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ไปพบผลิตภัณฑ์การเงินที่เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด โดยทาง iTAX จะได้รับค่าธรรมเนียมเป็นผลตอบแทน ผลดีของการทำสตาร์ทอัพลักษณะนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เข้ามาใช้งานร่วมกันได้ง่ายขึ้น
45. Startup กับ ตัวช่วยจากภาครัฐ [ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์]
03:21
3 กลุ่มตัวช่วยสำคัญที่ภาครัฐสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้น
1) แหล่งเงินทุน : NIA Venture สนับสนุนในรูปแบบเงินให้เปล่า หรือที่เรียกว่า Grants ให้แก่ 9 กลุ่มอุตสาหกรรม สูงสุดที่ 1.5 ล้านบาท ซึ่งผู้สนับสนุนคือ สำนักงานนวัตกรรม (NIA)
Startup Voucher เงินสนับสนุนการต่อยอดด้านการตลาด หน่วยงานที่สนับสนุน คือ สวทช. ให้การสนับสนุน 800,000 บาท/ราย
การแปลงเทคโนโลยีเป็นทุน พัฒนาธุรกิจให้มีนวัตกรรมลอกเลียนแบบยาก โดยการขอเงินสนับสนุต่อยอด สูงสุดอยู่ที่ 3 ล้านบาท
2) องค์ความรู้ จัดอบรม INCUBATION / ACCELERATOR ร่วมกับองค์กรชั้นนำที่มีชื่อเสียงด้าน Startup ไม่ว่าจะเป็น อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส และจีน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว เกิดเป็นโครงการ SPARK เป็น Accerator ภาครัฐที่ร่วมมือกับอิสราเอล
3) พัฒนาเชิงพื้นที่ ทาง NIA ได้ลงพื้นที่ในเขตภาคเหนือตอนบน ในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่ม EEC และกลุ่มภาคอีสาน โดยมีการบ่มเพาะผู้ประกอบการด้วยกิจกรรม 3 DAYS STARTUP และ 8 WEEKS COACHING และมีเงินสนับสนุนอยู่ที่ 600,000-1,000,000 บาท รวมถึง การพัฒนาย่านนวัตกรรม ทั้งหมด 10 ย่าน ย่านที่กรุงเทพฯ 6 ย่าน และภาคตะวันออกอีก 4 ย่าน
46. กฎหมายสำหรับ STARTUP [ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์]
02:34
กฎหมายสำหรับ Startup  แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำคัญ
ส่วนที่ 1  การทำ Regulatory Sandbox ลงนามความร่วมมือกับ 30 องค์กร เพื่อกำหนดแนวทางยกระดับหลายประเด็น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง FinTech เพื่อช่วยให้สตาร์ทอัพได้มีโอกาสทดลอง Business Model ใหม่ๆ ที่กฎหมายยังครอบคลุมไม่ทั่วถึง สามารถพัฒนาสาขาธุรกิจใหม่มีกฎหมายที่ตอบสนองนวัตกรรมของประเทศ
ส่วนที่ 2  เร่งร่าง พ.ร.บ. วิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่งเป็น กฎหมายเฉพาะสำหรับสตาร์ทอัพจะเป็นตัวช่วยเร่งการเติบโตของ Startup Ecosystem ให้เปิดกว้างและเปลี่ยนแปลงได้
47. นักรบเศรษฐกิจพันธุ์ใหม่ [ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์]
02:26
สถาบันการศึกษาเป็นแหล่งบ่มเพาะปลูกฝัง “นักรบเศรษฐกิจพันธุ์ใหม่” ให้ออกมาเป็น Founder และนวัตกรส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น รวมถึงยังมีหน้าที่หลักในการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาโอกาสของวิสาหกิจเริ่มต้น  โดยปัจจุบันมีการสนับสนุนนักศึกษามหาวิทยาลัยทั่วประเทศกว่า 30 แห่ง จำนวนปีละ 30,000 คน เพื่อให้นำความรู้มาใช้ต่อยอดพัฒนาเป็นธุรกิจ รวมถึงการให้องค์ความรู้สำหรับอาจารย์และบุคคลากรต่างๆ ในมหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน
48. เอกชนกับการส่งเสริมธุรกิจ Startup [ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์]
01:53
กลุ่มเอกชน ถือเป็นหัวหอกสำคัญในการพัฒนาสตาร์ทอัพ  ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของบริษัทด้านโทรคมนาคม ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ ที่จะเข้ามาส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่ละบริษัทให้ความสำคัญการพัฒนาระบบนิเวศน์ในรายสาขาธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง เช่น  ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สุขภาพ ประกันชีวิต อาหาร และเกษตร ในอนาคตจะมีกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงช่วยดูแลผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้เติบโตในสาขาที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างยิ่งใหญ่
49. แบบประเมินหลังการเรียน
01:12
ผู้ผ่านหลักสูตรสามารถดาวน์โหลดเอกสารเฉลยข้อสอบได้จากบทเรียนนี้ หลังจากนั้นจะเป็นขั้นตอนการประเมินคุณภาพของบทเรียนและระบบการใช้งาน ซึ่งความเห็นของคุณจะช่วยในการพัฒนา NIA Academy MOOCs ต่อไป และในตอนท้ายของแบบทดสอบจะเป็นแบบฟอร์มเพื่อขอใบประกาศนียบัตรออนไลน์ (Online Certificate) ออกให้โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
เนื้อหาทั้งหมด 49 วิดีโอ รวม 02 ชั่วโมง 22 นาที
หลักสูตรเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ หรือ วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่รวบรวมวิทยากรระดับแนวหน้าของประเทศจากโครงการ Startup Thailand สร้างเป็นสื่อการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนได้รู้จักและทำความเข้าใจในภาพรวมของคำว่า Startup มากยิ่งขึ้น
ฟรี
ผู้สอน
วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก Startup Thailand

พรทิพย์ กองชุน

COO Jitta

ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์

CEO บริษัท อุ๊คบี จำกัด

เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล

Design Thinking Expert , CEO / Co-founder LUKKID Co., Ltd. และ Asian Leadership Academy

ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์

Chief Advisor for Future Foresight and Innovation, Future Tales Lab, MQDC

ธนพงษ์ ณ ระนอง

กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด

กิตติชัย พิพัฒน์บุณยารัตน์

ผู้บริหาร APITEL.Co , Aristo Production และผู้ร่วมผลักดันระบบนิเวศ Tech Startup และชุมชนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ในเชียงใหม่

ไผท ผดุงถิ่น

CEO Builk One Group

อรนุช เลิศสุวรรณกิจ

CEO & Co-founder Techsauce Media

กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล

User Experience Specialist / CEO Mojito Technology Co., Ltd.

รีวิว
NIA MOOCs Tech Support