Sustainable Development, ESG and Business Model Development Programme

ความสอดคล้องระหว่างคุณค่าและความต้องการของผู้บริโภค

Value Proposition & Segmentation

ธนาคารออมสินร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ นำเสนอหลักสูตร "การสร้างกรอบแนวคิดธุรกิจใหม่และการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development, ESG and Business Model Development Programme"

บทเรียนนี้จะอยู่ในหมวดที่ 3 "การออกแบบธุรกิจใหม่"
เสนอเป็นวิชาที่ 4 ในหัวข้อ "ความสอดคล้องระหว่างคุณค่าและความต้องการของผู้บริโภค"

เราได้เจาะลึกเรื่องของ Value Proposition และ Customer Segments โดยเน้นที่บทบาทสำคัญของ Value Proposition ว่าเป็นตัวกำหนดทิศทางการดำเนินการขององค์กรในการกำหนด vision และ mission และเป็นส่วนที่ส่งเสริมความต้องการของกลุ่มลูกค้า เราจำเป็นต้องแบ่งกลุ่มลูกค้า เพื่อให้เราสามารถเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าได้อย่างละเอียด และต้องมั่นใจว่าเราสร้างความพร้อมให้กับกลุ่มลูกค้าที่เราเลือกไว้ เพื่อให้พวกเขาสามารถตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราได้ ต้องสร้างความชัดเจนใน Value Proposition เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการสื่อสารกับทีมงานและคนข้างนอก ซึ่ง Value Proposition สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพื่อให้เข้ากับความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น จะสามารถช่วยให้เราสร้างความมั่นใจในธุรกิจของเราเองว่า เรากำลังทำสิ่งที่ถูกต้องและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าของเราได้เป็นอย่างดี

สิ่งที่จะได้เรียนรู้ในบทเรียน

  • เรียนรู้ในเรื่องความสำคัญกับตัวคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เราจะใช้ในการทำธุรกิจ
  • ความสอดคล้องของคุณค่าที่เราตั้งไว้กับกลุ่มเป้าหมาย
  • วิธีการบูรณาการแนวคิดเรื่องความยั่งยืน กับ การพัฒนาธุรกิจใหม่
  • การมองหาช่องว่างของตลาด การหา Pain Point ด้าน Sustainability

นอกจากเนื้อหาวิชาการแล้ว ในบทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากวิทยากรพิเศษจากภาคธุรกิจ ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ไปจนถึง Startup ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาประกอบไปด้วย

1. บริษัท ไอ.พี. วัน จำกัด

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค ภายใต้แบรนด์ไฮยีน วิกซอล วิซ ไอวี่ แดนซ์ และโฟกัส กับแนวคิดการสร้างผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคในระยะยาวควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภค ภายใต้แบรนด์ไฮยีน วิกซอล วิซ ไอวี่ แดนซ์ และโฟกัส กับแนวคิดการสร้างผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคในระยะยาวควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม

2. Muvmi

มูฟมี (MuvMi) รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 100% สัญชาติไทยที่อยากพิชิตปัญหารถติดด้วยเทคโนโลยีและ ride sharing ราคาเป็นธรรม คนขับมีมาตรฐาน ลบภาพจำเดิมๆในอดีต
มูฟมี (MuvMi) รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 100% สัญชาติไทยที่อยากพิชิตปัญหารถติดด้วยเทคโนโลยีและ ride sharing ราคาเป็นธรรม คนขับมีมาตรฐาน ลบภาพจำเดิมๆในอดีต

3. Qualy Design

Qualy แบรนด์ดีไซน์สัญชาติไทยที่เชื่อในพลังของการออกแบบเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไปพร้อมๆกับการปกป้องโลก
Qualy แบรนด์ดีไซน์สัญชาติไทยที่เชื่อในพลังของการออกแบบเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไปพร้อมๆกับการปกป้องโลก

4. Vekin (Thailand) ผู้พัฒนา CERO Carbon Wallet Application

CERO Carbon Wallet แอปพลิเคชันที่เปลี่ยนความรักษ์โลกเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้คนธรรมดาๆ ก็มีคาร์บอนเครดิตได้
CERO Carbon Wallet แอปพลิเคชันที่เปลี่ยนความรักษ์โลกเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้คนธรรมดาๆ ก็มีคาร์บอนเครดิตได้
เนื้อหาคอร์ส
1. ความสอดคล้องระหว่างคุณค่าและความต้องการของผู้บริโภค
30:01
สอนโดย ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรี นวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล (dX) วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์
2. แบบประเมินหลังการเรียน
00:10
เนื้อหาทั้งหมด 2 วิดีโอ รวม 00 ชั่วโมง 30 นาที
การเรียนรู้ประกอบด้วย 1 วีดีโอ ท่านต้องรับชมวีดีโอจนจบ ไม่สามารถเลื่อนได้ (ระบบจะเตือนว่าเวลาการเรียนรู้ไม่เพียงพอ)

จากนั้นท่านจะต้องทำข้อสอบวัดความรู้หลังเรียน (ผ่าน 4 จาก 5 ข้อ)

เพื่อออกใบประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (E-Certificate) ท่านต้องเช็คความถูกต้องของชื่อและทำแบบสอบถามความพึงพอใจก่อน จากนั้นท่านสามารถดาวน์โหลดได้ในหน้า User Profile

สามารถกดติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่มุมขวาล่าง
ฟรี
ผู้สอน
ผศ.ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรี นวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล (dX) วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สิรินารถ ธเนศวรกุล

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงาน Corporate Services บริษัท ไอ.พี. วัน จำกัด

ดร.กฤษดา กฤตยากีรณ

ผู้ก่อตั้ง MuvMi

ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์

ผู้ก่อตั้ง Qualy Design

ศกยง พัฒนเวคิน

ซีอีโอ บริษัท เวคิน (ประเทศไทย) บริษัทผู้พัฒนา แอปพลิเคชั่น CERO Carbon Wallet

รีวิว
NIA MOOCs Tech Support